วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กรมปศุสัตว์แนะนำเกษตรกรให้ผลิตหญ้าแดดเดียว

กรมปศุสัตว์แนะนำเกษตรกรให้ผลิตหญ้าแดดเดียว(9/2556) PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย คุณพรสวรรค์ วิรัตน์เศรษฐสิน   
วันพุธที่ 07 พฤศจิกายน 2012 เวลา 14:34 น.
นายสัตวแพทย์อยุทธ์ หรินทรานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ แนะนำให้เกษตรกรผลิตหญ้าแดดเดียวเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งสัตว์ชอบกิน มีกลิ่นหอม คุณภาพดี และยังสามารถส่งขายในตลาดสัตว์เล็กได้อีกด้วย

การผลิตหญ้าแดดเดียวเป็นเทคนิคใหม่ในการทำหญ้าแห้ง จากเดิมที่ตัดหญ้าและตากในแปลงใช้ระยะเวลา 3-5 วัน เทคนิคนี้ใช้เวลาตัดและตากให้แห้งในแปลงเพียง 1 วัน เท่านั้น แต่การจะทำหญ้าแดดเดียวให้สำเร็จได้ ประกอบด้วยปัจจัย ดังนี้
1.  พันธุ์หญ้าที่ใช้ควรเป็นพันธุ์หญ้าที่มีลำต้นเล็ก เช่น หญ้าแพงโกล่า
2. หญ้าที่ตัดมีอายุระหว่าง 30-45 วัน
3. พื้นดินต้องแห้ง ฝนไม่ตก หรือหยุดการให้น้ำ มีแสงแดดจัดท้องฟ้าแจ่มใสหรือลมแรง
4. ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมคือเดือนธันวาคม-เมษายน

อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักร
1. รายใหญ่ไม่ควรตัดเกิน 10 ไร่/วัน
- เครื่องตัดหญ้าชนิดติดท้ายรถฟาร์มแทรกเตอร์ซึ่งใช้เวลาตัดไม่เกิน 2 ชม.
- เครื่องกระจายหญ้าแบบสะบัดผึ่ง ให้หญ้าโดนแดด และลมอย่างทั่วถึง ประมาณ 5-7 รอบ เป็นหัวใจสำคัญของการทำหญ้าแห้งแดดเดียว
- เกลี่ยรวมกองและอัดเสร็จในวันเดียวกัน
- ระยะเวลา 6 โมงเช้า ถึง 4 โมงเย็น
2. เกษตรกรรายย่อย ไม่ควรตัดเกิน 1 ไร่
- เครื่องตัดแบบสะพายไหล่หรือเครื่องตัดชนิดเดินตาม
- เกลี่ยกระจายด้วยคลาดกลับหญ้าบ่อยๆให้ทุกส่วน โดนแดดและลม วันละ 5-7 รอบ
- เมื่อแห้งสนิทแล้วมัดเก็บด้วยเชือก

ข้อดีของการทำหญ้าแดดเดียว คือ จะทำให้หญ้ามีสีเขียว กลิ่นหอม สัตว์ชอบกิน หญ้าคุณภาพดี ไม่สูญเสียธาตุอาหาร ที่สำคัญยังเป็นที่ต้องการของตลาดของสัตว์เล็ก เช่น หนู กระต่าย อีกมาก ส่วนข้อจำกัดในการผลิตหญ้าแดดเดียว คือ ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน อาจเกิดเชื้อรา เนื่องจากยังมีความชื้นอยู่ได้ และไม่ควรจัดเก็บโดยวิธีกองเรียงกันสูงเกินไป เพราะอาจเกิดความร้อนหรือการสันดาป ทำให้เกิดไฟไหม้ได้ ดังนั้นเกษตรกร จึงต้องใส่ใจ ให้ความสำคัญ และระมัดระวัง เรื่องการระบายความร้อนของสถานที่จัดเก็บอย่างดีด้วย รองอธิบดีกล่าว.

......................................................................................

ข้อมูล : สำนักพัฒนาอาหารสัตว์

เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น