ข้อมูลทั่วไป

๑. สภาพทั่วไปของอำเภอฝาง
๑.๑  ประวัติความเป็นมา  
        อำเภอฝาง  เป็นอำเภอในเขตการปกครองของจังหวัดเชียงใหม่ ในตำนานโยนกกล่าวไว้ว่า เมืองฝางถูกสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๑๑๘๔ โดยเจ้าหลวงจังกราช เป็นหัวเมืองทางตอนเหนือของล้านนา ในสมัยพระเจ้ามังรายมหาราชทรงเสด็จมาปกครองที่นี่ ก่อนที่จะเข้าตีเมืองหริภูญชัย   และสร้างเวียงกุมกาม และเมืองเชียงใหม่ในเวลาต่อมา ในสมัยพระเจ้าฝางพระนางสามผิวทรงรวมไพล่พลต่อต้านพม่าอย่างเข้มแข็ง จนสร้างเกียรติประวัติจนเป็นที่กล่าวขานของราษฎรมาจนถึงปัจจุบัน    ฝางมีภูมิประเทศเหมาะสม มีแม่น้ำฝางสามารถหล่อเลี้ยงเมืองได้ เมืองฝางมีสัณฐานคล้ายดังฝักไม้ฝาง จึงให้ชื่อว่าเมืองฝาง




อำเภอฝาง ได้จัดตั้งเป็นอำเภอขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๔ (ตรงกับ ร.ศ.๑๐๓) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ปรับปรุงการบริหารการปกครองส่วนภูมิภาค ขึ้นใหม่  จึงได้ยกเมืองฝางขึ้นเป็นอำเภอโดยขึ้นตรงกับจังหวัดเชียงใหม่
ที่ว่าการอำเภอฝางสร้างขึ้นเป็น ครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๔๘๘ โดยมีพระยาสุริโยยศ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอคนแรก และปัจจุบันได้มีการสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอฝางขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๐  โดยยังคงเก็บรักษาอาคารที่ว่าการอำเภอฝาง หลังเก่าไว้ให้คนรุ่นหลัง ได้ชื่นชมอันเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงเสด็จเยี่ยมราษฎร  ณ  อาคารแห่งนี้เมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๘๘

อาคารที่ว่าการอำเภอฝาง พ.ศ.๒๔๘๘

อาคารที่ว่าการอำเภอฝาง พ.ศ. ๒๕๖๑

๑.๒ ลักษณะทางกายภาพของอำเภอฝาง
   ที่ตั้ง
  ที่ว่าการอำเภอฝาง  ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียงมีเนื้อที่ ๕ – ๒ – ๖๙ ไร่  ที่ว่าอำเภอฝางอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร  ประมาณ  ๘๔๙ กิโลเมตร  และห่างจากจังหวัดเชียงใหม่  ๑๕๓ กิโลเมตร  ตามถนนทางหลวง หมายเลข ๑๐๗  (ถนนโชตนา)
เนื้อที่ ของอำเภอทั้งหมด  ๘๔๒.๙๖ ตารางกิโลเมตร  หรือ ๕๒๖,๘๕๐.๘๙ ไร่  ตั้งอยู่บนละติจุดที่ ๒๓ – ๘๕ องศาเหนือ และเส้นลองติจุดที่ ๓- ๒๔ องศาตะวันออก  สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ ๔๗๐ เมตร  มีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศสหภาพพม่าระยะทางประมาณ  ๕๐  กิโลเมตร


แผนที่อำเภอฝาง (CLICK)

อาณาเขตการปกครอง
อำเภอฝางตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

· ทิศเหนือ ติดต่อกับ รัฐฉาน (ประเทศพม่า) และ อำเภอแม่อาย
   ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอแม่สรวย (จังหวัดเชียงราย) และ อำเภอไชยปราการ
 ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแม่อาย
 ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐฉาน (ประเทศพม่า)
           ลักษณะภูมิประเทศ    
ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่คล้ายกับก้นกระทะ โดยมีภูเขาสูงอยู่รอบและค่อยๆ ลาดเอียงลงสู่ศูนย์กลางซึ่งเป็นพื้นที่ราบ อันประกอบด้วยภูเขาและป่าไม้ มีลำน้ำหลายสายไหลผ่าน เช่น ลำน้ำมาว   ลำน้ำใจ  ลำน้ำห้วยงู ลำน้ำห้วยไคร้ ลำน้ำแม่ข่า ลำน้ำแม่สูน  ซึ่ง ลำน้ำทุกสายไหลไปรวมกันกับแม่น้ำฝางและลงสู่แม่น้ำกกท่าตอนโดยแม่น้ำฝางเป็นแม่น้ำหลักสายสำคัญในทางการเกษตร (ซึ่งในอดีตเป็นเส้นทางคมนาคมด้วย)  ทำให้พื้นที่ของอำเภอฝางเหมาะกับการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง  มีต้นกำเนิด  มาจากขุนดอยเชียงดาวไหลขึ้นมาทางเหนือผ่านอำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง    และไปบรรจบแม่น้ำกกที่  อำเภอแม่อาย
          ลักษณะภูมิอากาศ 
 อำเภอฝางเป็นพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้  จึงทำให้โดยทั่วไปมีฝนตกชุก  สภาพอากาศเย็นชื้นตลอดทั้งปี  แต่อุณหภูมิค่อนข้างสูงในฤดูแล้งซึ่งเคยวัดได้ถึง  ๔๐.๗ องศาเซลเซียส  และหนาวเย็นในฤดูหนาว  ยอดดอย มีอากาศหนาวจัด (เฉพาะในเดือนธันวาคม -  มกราคม)  อุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ประมาณ – ๔ องศาเซลเซียส  ในปี ๒๕๔๒ ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยทั้งปี  ประมาณ ๑,๔๓๐ มิลลิเมตร  (๑๑๙.๑๗มิลลิเมตร/เดือน) โดยแบ่งเป็น ๓ ดู คือ ฤดูหนาว  ฤดูร้อน  และฤดูฝน


จำนวนประชากร

จำนวนประชากรทั้งสิ้น  รวม  101,814 คน 
จำนวนประชากรชาย    รวม 50,991 คน
จำนวนประชากรหญิง   รวม  50,823 คน
ความหนาแน่นของประชากร   120คน /ตร.กม.

เขตการปกครองอำเภอฝาง 8 ตำบล 119 หมู่บ้าน

เทศบาลตำบลเวียงฝาง
เทศบาลตำบลบ้านแม่ข่า
เทศบาลตำบลแมข่า 14 หมู่บ้าน
เทศบาลตำบลสันทราย 17 หมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง 20 หมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน 7 หมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลม่อนปิ่น 15 หมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สูน 15 หมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่คะ 17 หมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่งอน 15 หมู่บ้าน




ข้อมูลปี 2555

ข้อมูลปี 2560

จำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน  8,304    ราย                จำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน  2,696 ราย
พื้นที่ปลูกหญ้า  599.25  ไร่                               พื้นที่ปลูกหญ้า  599.25  ไร่                              
โคเนื้อ  1,816  ตัว
โคเนื้อ  820 ตัว
โคนม  282  ตัว โคนม 703  ตัว
กระบือ  799  ตัว กระบือ  746 ตัว
สุกร  15,887  ตัว สุกร  18,755  ตัว
ไก่  238,924  ตัว ไก่  120,512 ตัว
เป็ด  4,998  ตัว เป็ด  6,485  ตัว
แพะ  18 ตัว แพะ  75 ตัว
สุนัข  8,834  ตัว สุนัขมีเจ้าของ10,934 ตัว / ไม่มีเจ้าของ  581 ตัว
แมว  4,594  ตัว แมวมีเจ้าของ  5,407  ตัว / ไม่มีเจ้าของ  352 ตัว
สัตว์เลี้ยงอื่นๆ  2,380  ตัว
สัตว์เลี้ยงอื่นๆ  4,104  ตัว