วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กรมปศุสัตว์ เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงโรคสัตว์ในช่วงอากาศหนาวเย็น

กรมปศุสัตว์ เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงโรคสัตว์ในช่วงอากาศหนาวเย็น (21/2556) PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย คุณมณฑิชา นาควานิช   
วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2012 เวลา 15:33 น.
อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยมีอุณหภูมิลดต่ำลง ส่งผลให้ภาคเหนือมีอากาศหนาว และหนาวจัดบนดอยสูง ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักในบางพื้นที่ อาจส่งผลให้สัตว์เกิดความเครียด ภูมิคุ้มกันโรคลดลง ทำให้สัตว์ป่วยได้ง่าย เกษตรกรจึงควรดูแลตัวเอง และสุขภาพปศุสัตว์ให้แข็งแรงอยู่เสมอ
          นายสัตวแพทย์ทฤษดี  ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า มีความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกตอนบนมีอากาศเย็นและมีหมอก บนยอดดอยอาจหนาวถึงหนาวจัดได้ และภาคใต้มีฝนกระจายถึงหนักมากในระยะนี้
                ซึ่งสภาพอากาศดังกล่าวอาจส่งผลให้สัตว์เลี้ยงเกิดความเครียด ภูมิคุ้มกันโรคลดลง ทำให้สัตว์ป่วยได้ง่าย จึงขอให้เกษตรกรในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังปศุสัตว์ของตนเอง ให้มีสุขภาพดีในฤดูหนาวที่กำลังมาถึง  โดยจัดเตรียม วิตามิน และเกลือแร่ ให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงจัดเตรียมโรงเรือนเพื่อเป็นที่กำบังลมหนาว หรือ หาที่สุมไฟเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับปศุสัตว์ และเมื่อสุมไฟให้ไออุ่นกับปศุสัตว์เรียบร้อยแล้ว ขอให้เกษตรกรดับไฟให้สนิทเพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้ทุกครั้งด้วย ส่วนในภาคใต้ เกษตรกรควรจัดเตรียมน้ำสะอาด ยา เวชภัณฑ์ พืชอาหารสัตว์ และสถานที่เตรียมพร้อมอพยพสัตว์ขึ้นบนที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง เพื่อป้องกันการสูญเสียปศุสัตว์ในกรณีน้ำท่วมขังสูง
            สำหรับโรคในโค กระบือ ที่ควรระวัง ในระยะนี้ ได้แก่ โรคคอบวม หรือโรคเฮโมรายิกเซพติซีเมีย  เป็นโรคที่มีความรุนแรงในกระบือ สัตว์จะหายใจหอบ มีเสียงดัง คอ หรือหน้าบวมแข็ง ตายอย่างรวดเร็วภายใน 1-2 วัน สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอบวม  นอกจากนี้ยังมีโรคปากและเท้าเปื่อย  ซึ่งสามารถติดต่อ และแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็วในสัตว์กีบคู่ทุกชนิด จากการที่สัตว์กินเอาเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่กับอาหารและน้ำหรือหญ้า หรือหายใจเอาเชื้อที่ปะปนอยู่กับอากาศในบริเวณที่มีสัตว์ป่วยเข้าไปสัตว์จะ แสดงอาการมีไข้สูง เบื่ออาหาร น้ำลายไหล มีแผลที่ลิ้น เหงือก และร่องกีบ บางรายอาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม เชื้อเข้าสู่กระแสโลหิต อาจทำให้สัตว์ตายได้   
           ในสุกร ให้ระวังโรคปากและเท้าเปื่อยเช่นเดียวกับในโค กระบือ และโรคที่มีการระบาดในช่วงนี้ คือโรค PRRS เป็นโรคในสุกรไม่ติดต่อถึงคน ซึ่งเชื้อจะแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็ว สุกรมีอาการไข้ หอบ ไอ ผิวหนังเป็นปื้นแดง ไม่มีแรง หากสุกรท้องจะแท้ง หรือลูกตายแรกคลอด หรืออ่อนแอ แคระแกร็น โตช้า จึงขอให้ผู้เลี้ยงสุกรเข้มงวดการป้องกันโรคเข้าสถานที่เลี้ยงสุกร โดยแยกเลี้ยงสุกรใหม่ก่อนเข้ารวมฝูงอย่างน้อย 1 เดือน ทำลายเชื้อโรคที่อาจติดมากับยานพาหนะและคนก่อนเข้าสถานที่เลี้ยงสุกร ด้วยการฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง และในช่วงที่มีโรคนี้ระบาดในพื้นที่ ควรงดการนำสุกรเข้าเลี้ยงใหม่และให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อย่างใกล้ ชิด    
          สำหรับผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง ไก่ชน และไก่พื้นเมือง  ควรเฝ้าระวัง ดูแล สุขภาพสัตว์ปีกของตนเองอย่างใกล้ชิด   ให้สัตว์ปีกนอนในที่แห้งหรือในเล้าหรือโรงเรือน ที่มีหลังคาและผนังป้องกันลม ฝนได้ รวมทั้งฉีดวัคซีนป้องกันโรคจะช่วยให้สัตว์ปีกแข็งแรง ต้านทานโรคได้เป็นอย่างดี  
         อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า เกษตรกรเองก็ต้องดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงด้วยเช่นกัน เพราะอากาศที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย และต้องหมั่นสังเกตสุขภาพของปศุสัตว์อยู่เป็นประจำหากพบสิ่งผิดปกติ หรือสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ หรือปศุสัตว์จังหวัดใกล้บ้านท่าน อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุด.         
                                                    .......................................................................                                
ข้อมูล/ข่าว : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช  สาสะกุล  นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ออสเตรเลียพบไข้หวัดนกในฟาร์มสัตว์ปีก

ออสเตรเลียพบไข้หวัดนกในฟาร์มสัตว์ปีก PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2012 เวลา 20:33 น.
         องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) รายงานการพบไข้หวัดนกสายพันธุ์ก่อโรครุนแรงกลุ่ม H7
ในฟาร์มสัตว์ปีกของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นรายงานครั้งแรกของออสเตรเลียในรอบ 15 ปี
ทำให้ไก่ไข่ที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระตายกว่า 5,000 ตัว และมีสัตว์ปีกที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงกว่า 50,000 ตัว
โดยฟาร์มดังกล่าวพบว่ามีแหล่งน้ำจำนวนมากที่สามารถเป็นที่อาศัยของนกเป็ดน้ำซึ่งอาจเป็นพาหะนำโรคไข้หวัดนก
        ขณะนี้ กระทรวงเกษตร ประมง และป่าไม้ (MAFF) ได้วางมาตรการกักกันต่อฟาร์มสัตว์ปีกดังกล่าวแล้ว โดยกำหนดพื้นที่ในรัศมี 3 กิโลเมตร เป็นเขตกักกัน ! และรัศมี 7 กิโลเมตร เป็นเขตควบคุม ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ทางการออสเตรเลียได้กล่าวว่า การระบาดของโรคจะไม่เป็นอันตรายต่อการบริโภคสัตว์ปีกและไข่แต่อย่างใด

ที่มา : ส่วนควบคุมโรงฆ่าสัตว์ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การนำเข้าสัตว์และซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักร

การนำเข้าสัตว์และซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักร (บทความที่2/2556)

อีเมล พิมพ์ PDF
          ปัจจุบันเราจะได้ยินข่าวการแพร่ระบาดของโรคระบาดสัตว์เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกกับโรคระบาดที่เกิดขึ้น และหลายคนงดกินเนื้อสัตว์ เนื่องจากวิตกว่าจะรับเชื้อจากเนื้อสัตว์เหล่านั้น ซึ่งโรคระบาดเหล่านั้นมีทั้งที่สามารถติดต่อจากสัตว์สู่สัตว์ และจากสัตว์สู่คน เช่นโรคไข้หวัดนก โรคพิษสุนัขบ้า โรคแอนแทรกซ์ โรควัวบ้า โรคปากและเท้าเปื่อย ฯลฯ แม้ในประเทศที่มีวิวัฒนาการก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างหลายประเทศในแถบยุโรป เมื่อเกิดโรคระบาดสัตว์ขึ้น เช่น โรควัวบ้าโรคปากและเท้าเปื่อยระบาด ก็ยังไม่สามารถเข้าควบคุมและป้องกันโรคระบาดได้อย่างทันท่วงที ส่งผลให้เกิดความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจปีละนับหลายล้านบาท
                          วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคระบาด ก็คือ การจัดตั้งหน่วยดูแลและควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์เข้า – ออกพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรค
                          กรมปศุสัตว์ โดยสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายและกักกันสัตว์-ซากสัตว์ เข้า-ออกระหว่างประเทศ โดยถือเป็นด่านปราการสำคัญในการควบคุม ป้องกัน และกำจัดโรคระบาด ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งการค้าสัตว์หรือซากสัตว์ระหว่างประเทศ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการนำโรคสัตว์ต่างๆ มาแพร่ระบาดในประเทศได้
                          ดังนั้น การนำเข้าสัตว์และซากสัตว์เข้าสู่ประเทศไทย จึงมีจำเป็นที่กรมปศุสัตว์จะต้องดำเนินการอย่างเข้มงวด โดยมีขั้นตอนการนำเข้าสัตว์และซากสัตว์เข้าราชอาณาจักรดังนี้

การดำเนินการล่วงหน้า

                        ติดต่อ สอบถาม ขอคำแนะนำเบื้องต้นจากเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าเข้านั้น เนื่องจากสัตว์นำเข้าต้องผ่านการกักตรวจจากสัตวแพทย์ด่านกักกันระหว่างประเทศ ณ คอกกักกันสัตว์ของด่าน หากผู้นำเข้าประสงค์จะกักกันสัตว์ในพื้นที่ของตนเอง ต้องจัดเตรียมสถานกักกันสัตว์ให้เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์กรมปศุสัตว์ตรวจรับรองความเหมาะสมให้เรียบร้อยก่อน
                        การยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้า ต้องดำเนินการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน และควรติดต่อด้วยตนเองโดยยื่นคำร้องเป็นหนังสือตามแบบที่กรมปศุสัตว์กำหนด พร้อมแนบสำเนาหลักฐานบัตรประจำตัวมาด้วยทุกครั้ง
                        กรมปศุสัตว์จะตรวจสอบสภาวะโรคของประเทศต้นทางจนมั่นใจว่าปลอดภัยจริง จึงออกหนังสืออนุมัติในหลักการอนุญาตนำสัตว์เข้าราชอาณาจักรฉบับอังกฤษ (Import Permit) พร้อมกำหนดเงื่อนไข (Requirement) การนำเข้าของสัตว์นั้น ซึ่งลงนามโดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
                        ส่วนผู้ขออนุญาตเมื่อได้รับเอกสารหนังสืออนุมัติในการอนุญาตนำเข้าฯ ของกรมปศุสัตว์แล้วให้นำส่งไปยังประเทศต้นทางทันที เพื่อประเทศต้นทางจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไข (Requirement) ที่กรมปศุสัตว์กำหนด
                        ผู้ขออนุญาตต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ณ ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศ ประจำท่าเข้านั้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓ วัน ก่อนสัตว์เดินทางมาถึง เพื่อสัตวแพทย์จะได้เตรียมการอำนวยความสะดวกตรวจสอบสัตว์ ทำลายเชื้อโรคพาหนะบรรทุกสัตว์จัดเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ควบคุมรถบรรทุกสัตว์ไปยังสถานกักกันสัตว์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด และออกเอกสารใบแจ้งอนุมัตินำเข้า (ร.๖) ให้ผู้ขออนุญาตนำไปติดต่อดำเนินการทางพิธีศุลกากรที่ด่านศุลกากรประจำท่าเข้านั้น
                        สัตว์ที่นำเข้าต้องมีเอกสารหนังสือรับรองสุขภาพ (Health Certificate) เป็นภาษาอังกฤษ ออกให้โดยสัตวแพทย์รัฐบาลผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศต้นทาง ถ้าเอกสารรับรองเป็นภาษาอื่น ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลประเทศต้นทาง หรือเจ้าหน้าที่สถานทูตประเทศต้นทางประจำเทศไทย หนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ต้องตามเงื่อนไขการนำเข้าที่กรมปศุสัตว์กำหนดทุกประการ ถ้ามีหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ไม่ตรงตามเงื่อนไขที่กรมปศุสัตว์กำหนด จะไม่อนุญาตให้นำสัตว์นั้นเข้าประเทศไทย
                       สัตว์ที่นำเข้ามาทำพันธุ์ ต้องมีเอกสารหนังสือรับรองพันธุ์ประวัติ (Pedigree) แนบมาด้วยทุกครั้ง
                        ผู้นำเข้าต้องเตรียมเอกสารแสดงราคาสัตว์ มอบให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทุกครั้งที่นำสัตว์เข้าราชอาณาจักร

การดำเนินการช่วงนำเข้า

                        ผู้นำเข้าสัตว์ หรือ ซากสัตว์เข้าราชอาณาจักรต้องเสียค่าธรรมเนียมนำเข้าตามที่กำหนดกฎกระทรวงฯ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๔๒
                        เมื่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนแล้วจะออกใบอนุญาตนำเข้า (ร.๗) ให้ผู้ขออนุญาตนำเข้า เพื่อใช้ในการตรวจปล่อยสินค้า และนำสัตว์ไปกักตรวจ ณ สถานกักกันสัตว์ที่กำหนด

การดำเนินการหลังการนำเข้า

                        สัตว์จะถูกนำไปกักดูอาการ ณ สถานกักกันสัตว์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด ในระยะเวลาที่นักวิชาการสัตวแพทย์จะพิจารณา เพื่อให้นักวิชาการสัตวแพทย์เก็บตัวอย่างต่างๆ จากสัตว์ไปตรวจทางห้องปฏิบัติการว่าปลอดโรคและผ่านพ้นระยะเวลาการกักกันแล้ว จึงจะอนุญาตเคลื่อนย้ายออกจากสถานกักกันสัตว์ได้ โดยเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์จะออกใบอนุญาตนำเข้า มอบให้ผู้นำเข้าไว้เป็นหลักฐาน
                        หากสัตว์ป่วย หรือตาย ขณะเดินทางมาถึง หรือระหว่างกักกันดูอาการ เจ้าของสัตว์ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ทันที เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ และเก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการเพื่อชันสูตรโรคต่อไป
                        ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการในการป้องกันและนำสัตว์ และซากสัตว์เข้าราชอาณาจักร โดยมีด่านกักกันสัตว์ในประเทศ และระหว่างประเทศของกรมปศุสัตว์ ทั่วประเทศที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังการเคลื่อนย้ายสัตว์เข้า-ออกประเทศอย่างเข้มงวด เพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้โรคระบาดจากต่างประเทศเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศได้ อันจะส่งผลเสียหายกับประชาชนและปศุสัตว์ในประเทศไทยได้
…………………………………………
ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์
เรียบเรียงโดย : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กรมปศุสัตว์เดินหน้าควบคุมโรคไข้หวัดนกช่วงอากาศแปรปรวน โดยพยายามใช้มาตรการต่างๆ ทุกวิถีทางที่จะสามารถสกัดกั้นไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย

กรมปศุสัตว์เดินหน้าควบคุมโรคไข้หวัดนกช่วงอากาศแปรปรวน โดยพยายามใช้มาตรการต่างๆ ทุกวิถีทางที่จะสามารถสกัดกั้นไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย คุณมณฑิชา นาควานิช   
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน 2012 เวลา 13:44 น.
           นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ในช่วงนี้เป็นช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย อาจทำให้สัตว์เจ็บป่วยจากภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงได้ โดยเฉพาะโรคไข้หวัดนกที่อาจเกิดขึ้นในสัตว์ปีก จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทุกหน่วยดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคไข้หวัดนกอย่างจริงจัง โดยพยายามใช้มาตรการต่างๆ ทุกวิถีทางที่จะสามารถสกัดกั้นไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย
          กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการตามมาตรการต่างๆ มากมายในการควบคุม ป้องกัน ไม่ให้ประเทศไทยเกิดโรคไข้หวัดนก เช่น การทำความเข้าใจ ให้ความรู้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ต่างๆ ทั้งไก่เนื้อ ไก่พื้นเมือง และเป็ด จัดกิจกรรมสัปดาห์รณรงค์ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคไข้หวัดนกในพื้นที่เสี่ยงทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้ดำเนินโครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (X-Ray) โดยดำเนินการสำรวจจำนวนสัตว์ปีก เฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกเชิงรุกด้วยอาการทางคลินิก ทุกพื้นที่และทุกชนิดสัตว์ และการสุ่มตรวจอุจจาระสัตว์ปีก ไก่เนื้อ ไก่พื้นเมือง รวมทั้งเป็ดไล่ทุ่ง ทั่วประเทศ เพื่อให้ทุกพื้นที่ของประเทศไทยปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก
            ทั้งนี้กรมปศุสัตว์ต้องขอความร่วมมือจากประชาชน เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ทุกท่าน หากพบเห็นสัตว์ปีกป่วยตายอย่างผิดปกติสามารถแจ้งเบาะแสให้กับ อาสาปศุสัตว์ ปศุสัตว์อำเภอ ปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ของท่าน
----------------------------------------
ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ กรมปศุสัตว์

 

กรมปศุสัตว์ประสบความสำเร็จสร้าง “ไก่ชีท่าพระ” ไก่พื้นเมืองไทยสายพันธุ์แท้

กรมปศุสัตว์ประสบความสำเร็จสร้าง “ไก่ชีท่าพระ” ไก่พื้นเมืองไทยสายพันธุ์แท้ (11/2556) PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย คุณพรสวรรค์ วิรัตน์เศรษฐสิน   
วันศุกร์ที่ 09 พฤศจิกายน 2012 เวลา 13:21 น.

อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผย กรมปศุสัตว์ประสบความสำเร็จในการสร้างไก่พื้นเมืองไทย สายพันธุ์แท้ "ไก่ชีท่าพระ" หลังใช้เวลาวิจัย และพัฒนากว่า 10 ปี โดยมีลักษณะเด่นให้สมรรถภาพการผลิตที่สูง มีขนสีขาวทั้งตัวเหมือนไก่เนื้อ จึงเหมาะสำหรับเป็นไก่พื้นเมืองในระบบอุตสาหกรรมในอนาคต

นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ไก่ชีท่าพระเป็นไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์แท้ ที่ได้มีการพัฒนาพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ จ.ขอนแก่น โดยเริ่มสร้างฝูงไก่ชีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ด้วยความร่วมมือระหว่างกรมปศุสัตว์กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จนได้พันธุ์แท้ “ไก่ชีท่าพระ” จากขั้นตอนและวิธีการคัดเลือกตามหลักวิชาการ ฝูงพันธุ์ที่ได้มีลักษณะภายนอกซึ่งได้แก่ รูปร่าง ลักษณะหงอน และสีขนสม่ำเสมอเป็นเอกลักษณ์ ตรงตามลักษณะประจำพันธุ์และสามารถใช้จำแนกพันธุ์ได้ มีลักษณะประจำพันธุ์ทั้งลักษณะทางคุณภาพ (Qualitative traits) และ ลักษณะทางปริมาณ (Quantitative traits) เช่นเดียวกับไก่พันธุ์แท้ต่างๆ ของทั่วโลก ทำให้ประเทศไทยสามารถแสดงความเป็นเจ้าของพันธุ์ได้ และยังมีศักยภาพการผลิตโดยการเลี้ยงในระบบฟาร์มสูงกว่าไก่พื้นเมืองทั่วไปกว่า 25 % “ไก่ชีท่าพระ” มีจุดเด่นหลายประเด็น เช่น สามารถเลี้ยงรอดได้ดีในลักษณะการเลี้ยงของเกษตรกรในหมู่บ้าน มีความเป็นแม่ที่ดีสามารถฟักไข่และเลี้ยงลูกได้เอง ให้จำนวนลูกไก่สูงกว่าไก่พื้นเมืองของเกษตรกรกว่า 30 %

ลักษณะประจำพันธุ์ เพศผู้ มีสร้อยคอสีขาวหรือสีงาช้าง ขนหาง ขนลำตัวสีขาว แข้ง ปาก สีเหลือง ใบหน้าสีแดง หงอนถั่ว ส่วนเพศเมีย มีลักษณะเหมือนเพศผู้แต่ไม่มีขนสร้อยคอ

ส่วนลักษณะทางเศรษฐกิจ คือ เมื่ออายุ 12 สัปดาห์ จะมีน้ำหนักตัว 1,135 ± 150 กรัม สามารถให้ไข่ฟองแรกเมื่ออายุ 170 วัน และให้ผลผลิตไข่ 125 ฟอง/แม่/ปี

ลักษณะดีเด่น ไก่ชีท่าพระมีลักษณะเด่นที่เป็นไก่ไทยพันธุ์แท้ที่ให้สมรรถภาพการผลิตที่สูงกว่า มีขนสีขาวทั้งตัวเหมือนไก่เนื้อ จึงเหมาะสำหรับเป็นไก่พื้นเมืองในระบบอุตสาหกรรมในอนาคต เพราะเมื่อผ่านการชำแหละหรือแปรรูปในระบบโรงเชือดขนาดใหญ่ไม่มีปัญหาขนหมุด (Pin feather) สีดำติดที่ผิวหนังของไก่ และแข้งมีสีเหลืองซึ่งเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้สีขาวของขนทั้งตัวยังเป็นที่นิยมของนักเลี้ยงไก่สวยงามของไทยอีกด้วย

การใช้ประโยชน์พันธุ์ ไก่ชีท่าพระเป็นไก่พื้นเมืองไทยที่มีศักยภาพและมีคุณค่าการบริโภคที่ดีเด่นกว่าไก่เนื้อมากเมื่อเทียบกันทางการค้า โดยไก่ชีท่าพระมีเนื้อที่แน่นนุ่ม มีโปรตีนสูงกว่า แต่มีไขมันและคอเลสเตอรอลน้อยกว่าถึง 2 เท่า กรมปศุสัตว์จึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนกลุ่มเกษตรกรได้นำ “ไก่ชีท่าพระ” ไปใช้ประโยชน์ในการการค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าต่อไป

นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ยังได้ร่วมมือกับ สกว. ดำเนินโครงการศึกษาวิจัยการพัฒนาไก่ชีท่าพระเชิงเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ โดยเริ่มจากการสร้างการรับรู้/รู้จักพันธุ์ไก่ควบคู่กันไปทั้งในระดับเกษตรกรในชุมชนและในระดับผู้บริโภค โดย (1) การนำพันธุ์ไก่ลงสู่ชุมชนในรูปแบบของการสร้างเครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงไก่ชีท่าพระในพื้นที่ของจังหวัดที่เริ่มมีการรับรู้/รู้จักและต้องการเลี้ยงไก่พันธุ์นี้ได้แก่ จ.ขอนแก่น มหาสารคาม และเลย (2) ร่วมกับการสร้างการรับรู้ไก่ชีท่าพระเชิงบริโภคในกลุ่มผู้บริโภค/ประชาชน โดยการนำไก่ชีท่าพระภาคอิสานที่นิยมบริโภคไก่เป็นหลัก จะทำให้เกษตรกร และผู้บริโภคมีทางเลือกเพิ่มขึ้นทั้งการสร้างอาชีพและการบริโภคปรุงเป็นอาหารและการจัดทำเมนูอาหารยอดนิยมคือไก่ชีท่าพระย่างให้ชิมในร้านไก่ย่างที่มีชื่อเสียงของอ.เมือง และอ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ในช่วงเดือนธันวาคม 2555 (3) จัดการชิมไก่ชีท่าพระย่าง ต้มยำในงานเปิดการท่องเที่ยว อ.เชียงคาน จ.เลย (ธ.ค. 55) งานวันเกษตรแห่งชาติภาคอิสาน ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ม.ค.56) โดยมุ่งนี้การนำผลงานวิจัยจากหิ้ง......ลงสู่ชุมชน .......เข้าสู่ผู้บริโภค

ทั้งนี้ ผู้สนใจขอรับข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40260 โทรศัพท์ 043 – 261194

...........................................................................................

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์

เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กรมปศุสัตว์เตือนโรคในสัตว์ปีก

กรมปศุสัตว์เตือนโรคในสัตว์ปีก (10/2556) PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย คุณพรสวรรค์ วิรัตน์เศรษฐสิน   
วันพฤหัสบดีที่ 08 พฤศจิกายน 2012 เวลา 11:00 น.

กรมปศุสัตว์ ขอเตือนให้เกษตรกรหมั่นสังเกตสุขภาพสัตว์ปีก หากพบป่วยตายผิดปกติ ห้าม ขาย จำหน่าย แจก หรือ กิน ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที พร้อมแนะให้ทำวัคซีนป้องกันโรคสัตว์ปีกตามโปรแกรมอย่างเคร่งครัด

นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย กลางคืนมีอากาศหนาวเย็น สลับกับมีฝนตกบ้างในบางวัน ส่วนในเวลากลางวันจะมีอากาศร้อนจัด อาจทำให้สัตว์ปีกเกิดความเครียด ส่งผลให้เจ็บป่วยได้ง่าย และเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรค และการแพร่ระบาดของโรคในสัตว์ปีก อย่างเช่นโรคหลอดลมอักเสบ โรคไข้หวัดนก และโรคระบาดสัตว์ปีกอื่นๆ เกษตรกรจึงควร หมั่นสังเกตอาการ และสุขภาพของสัตว์ปีก ควรเสริมวิตามิน เกลือแร่ การจัดการสิ่งแวดล้อมที่อยู่ของสัตว์ปีกให้เหมาะสม เช่น อย่าให้ลมโกรก ให้อยู่ในที่อุณหภูมิพอเหมาะ จัดให้มีเล้าหรือโรงเรือนสำหรับสัตว์ปีกนอนในตอนกลางคืน สามารถป้องกันแดด ฝน ลมและพาหะนำโรคระบาดสัตว์ได้ อีกทั้งยังง่ายต่อการดูแลสุขภาพสัตว์ปีกอีกด้วย ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จาก www.dld.go.th/birdflu และต้องใช้หลักความปลอดภัยทางชีวภาพ ( Biosecurity) ในการป้องกันเชื้อโรคเข้ามาในฟาร์ม เช่น การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรค การควบคุมคนหรือยานพาหนะเข้า – ออกฟาร์ม การมีเล้าหรือโรงเรือนเพื่อป้องกันพาหะนำโรค เป็นต้น และให้ทำวัคซีนตามโปรแกรมที่สัตวแพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด

ประกอบกับในช่วงนี้เริ่มมีนกอพยพเข้ามาในพื้นที่ประเทศไทย กรมปศุสัตว์ จึงขอความร่วมมือหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายการเฝ้าระวังโรค ทั้งอาสาปศุสัตว์ อาสาสมัครสาธารณสุข กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้คำแนะนำประชาชน เกษตรกร โรงเรียน และวัดที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีก หากพบสัตว์ปีกป่วยหรือตายผิดปกติ ไม่ทราบสาเหตุ อย่านำสัตว์ปีกไปแจก ขาย หรือประกอบอาหารอย่างเด็ดขาด ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ในพื้นที่ทันที หรือ call center โทร 085-660-9906 เพื่อจะได้ดำเนินการควบคุมโรคไม่ให้แพร่กระจายออกไปได้อย่างทันท่วงที

"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ข้อมูล/ข่าว : ส่วนโรคสัตว์ปีก สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์

เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์

กรมปศุสัตว์แนะนำเกษตรกรให้ผลิตหญ้าแดดเดียว

กรมปศุสัตว์แนะนำเกษตรกรให้ผลิตหญ้าแดดเดียว(9/2556) PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย คุณพรสวรรค์ วิรัตน์เศรษฐสิน   
วันพุธที่ 07 พฤศจิกายน 2012 เวลา 14:34 น.
นายสัตวแพทย์อยุทธ์ หรินทรานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ แนะนำให้เกษตรกรผลิตหญ้าแดดเดียวเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งสัตว์ชอบกิน มีกลิ่นหอม คุณภาพดี และยังสามารถส่งขายในตลาดสัตว์เล็กได้อีกด้วย

การผลิตหญ้าแดดเดียวเป็นเทคนิคใหม่ในการทำหญ้าแห้ง จากเดิมที่ตัดหญ้าและตากในแปลงใช้ระยะเวลา 3-5 วัน เทคนิคนี้ใช้เวลาตัดและตากให้แห้งในแปลงเพียง 1 วัน เท่านั้น แต่การจะทำหญ้าแดดเดียวให้สำเร็จได้ ประกอบด้วยปัจจัย ดังนี้
1.  พันธุ์หญ้าที่ใช้ควรเป็นพันธุ์หญ้าที่มีลำต้นเล็ก เช่น หญ้าแพงโกล่า
2. หญ้าที่ตัดมีอายุระหว่าง 30-45 วัน
3. พื้นดินต้องแห้ง ฝนไม่ตก หรือหยุดการให้น้ำ มีแสงแดดจัดท้องฟ้าแจ่มใสหรือลมแรง
4. ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมคือเดือนธันวาคม-เมษายน

อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักร
1. รายใหญ่ไม่ควรตัดเกิน 10 ไร่/วัน
- เครื่องตัดหญ้าชนิดติดท้ายรถฟาร์มแทรกเตอร์ซึ่งใช้เวลาตัดไม่เกิน 2 ชม.
- เครื่องกระจายหญ้าแบบสะบัดผึ่ง ให้หญ้าโดนแดด และลมอย่างทั่วถึง ประมาณ 5-7 รอบ เป็นหัวใจสำคัญของการทำหญ้าแห้งแดดเดียว
- เกลี่ยรวมกองและอัดเสร็จในวันเดียวกัน
- ระยะเวลา 6 โมงเช้า ถึง 4 โมงเย็น
2. เกษตรกรรายย่อย ไม่ควรตัดเกิน 1 ไร่
- เครื่องตัดแบบสะพายไหล่หรือเครื่องตัดชนิดเดินตาม
- เกลี่ยกระจายด้วยคลาดกลับหญ้าบ่อยๆให้ทุกส่วน โดนแดดและลม วันละ 5-7 รอบ
- เมื่อแห้งสนิทแล้วมัดเก็บด้วยเชือก

ข้อดีของการทำหญ้าแดดเดียว คือ จะทำให้หญ้ามีสีเขียว กลิ่นหอม สัตว์ชอบกิน หญ้าคุณภาพดี ไม่สูญเสียธาตุอาหาร ที่สำคัญยังเป็นที่ต้องการของตลาดของสัตว์เล็ก เช่น หนู กระต่าย อีกมาก ส่วนข้อจำกัดในการผลิตหญ้าแดดเดียว คือ ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน อาจเกิดเชื้อรา เนื่องจากยังมีความชื้นอยู่ได้ และไม่ควรจัดเก็บโดยวิธีกองเรียงกันสูงเกินไป เพราะอาจเกิดความร้อนหรือการสันดาป ทำให้เกิดไฟไหม้ได้ ดังนั้นเกษตรกร จึงต้องใส่ใจ ให้ความสำคัญ และระมัดระวัง เรื่องการระบายความร้อนของสถานที่จัดเก็บอย่างดีด้วย รองอธิบดีกล่าว.

......................................................................................

ข้อมูล : สำนักพัฒนาอาหารสัตว์

เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การเคลื่อนย้ายสัตว์ในประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

การเคลื่อนย้ายสัตว์ในประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (5/2556) PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย คุณมณฑิชา นาควานิช   
วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม 2012 เวลา 11:37 น.
กรมปศุสัตว์ไทยเป็นต้นแบบแก่ประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการใช้ระบบ e-service ในการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์และการทำเครื่องหมายประจำตัวสัตว์ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าปศุสัตว์ ตามมาตรฐานสากล
                นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยว่า การเคลื่อนย้ายสัตว์ในประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ได้มีความร่วมมือด้านการพัฒนาการประสานงานด่านกักกันสัตว์และการเคลื่อนย้ายสัตว์ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล มาอย่างต่อเนื่อง โดยกรมปศุสัตว์ไทยเป็นประเทศแรกในประเทศสามาชิกอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่นำระบบ e-service และการทำเครื่องหมายประจำตัวสัตว์มาใช้ในการเคลื่อนย้ายสัตว์ในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับสินค้าปศุสัตว์ได้
                จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้มีโรคระบาดสัตว์เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพสัตว์ และการผลผลิตของสัตว์ของประเทศนั้นๆ ดังนั้น เมื่อเกิดโรคระบาดสัตว์เกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาคือการสูญเสียปศุสัตว์ที่เลี้ยง ผลผลิตตกต่ำ เสียค่าใช้จ่ายในการรักษา หรือการควบคุมโรค สูญเสียโอกาสในการส่งสัตว์ไปจำหน่ายยังตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เกิดผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ อย่างเช่น โรคปากและเท้าเปื่อย โรคอหิวาต์สุกร โรครินเดอร์เปสต์ โรคไข้หวัดนก เป็นต้น
                การควบคุมโรคระบาดสัตว์ข้ามพรมแดนนั้น จะต้องอาศัยมาตรการหลายประการ เช่น การทำวัคซีนเพื่อป้องกันควบคุมโรค การเฝ้าระวังและทดสอบโรค ระบบเตือนภัย และการป้องกันโรคล่วงหน้า การควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ ดั้งนั้นประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง รวม 6 ประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน (มณฑลยูนนาน) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศไทย เมียนมาร์ กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกัน ทำให้การเคลื่อนย้ายสัตว์ข้ามพรมแดนอาจก่อให้เกิดโรคระบาดในสัตว์ได้อยู่เสมอ ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคสัตว์ในสัตว์ อีกทั้งยังเป็นการปรับปรุงการพัฒนาการเคลื่อนย้ายสัตว์ในภูมิภาคนี้ กรมปศุสัตว์ และสำนักการเกษตรต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงจัดให้มีการประชุมระหว่างประเทศเรื่องการเคลื่อนย้ายสัตว์ และการทำเครื่องหมายเลขทะเบียนสัตว์ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านด่านกักกันสัตว์ในประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เป็นประจำทุกปี เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านกักกันสัตว์ได้มีโอกาสในการปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติ และวางมาตรการการเคลื่อนย้ายสัตว์ เพื่อที่จะสามารถนำกลับไปใช้ในการพัฒนาด่านกักกันสัตว์ของแต่ละประเทศให้พัฒนาทัดเทียมกันต่อไป รวมทั้งประเทศไทยได้ผลักดันให้ประเทศต่างๆ ได้นำระบบ e-service มาใช้ในการเคลื่อนย้ายสัตว์ในประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบย้อนกลับของสินค้าปศุสัตว์อีกด้วย.
......................................................................................
ข้อมูล : กองปศุสัตว์ต่างประเทศ กรมปศุสัตว์
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กรมปศุสัตว์ เตือนระวังโรคสัตว์ในช่วงต้นหนาว(4/2556)

กรมปศุสัตว์ เตือนระวังโรคสัตว์ในช่วงต้นหนาว(4/2556) PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย คุณมณฑิชา นาควานิช   
วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม 2012 เวลา 10:27 น.
กรมปศุสัตว์ เตือนเกษตรกรระวังโรคสัตว์ในหน้าหนาว หมั่นดูแลสุขภาพสัตว์ รักษาความสะอาดในสถานที่เลี้ยง ให้มีอากาศถ่ายเทและป้องกันลม ฝนได้ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามโปรแกรมที่สัตวแพทย์แนะนำ พร้อมทั้งแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทันทีที่พบสัตว์ป่วย/ตาย
          นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ปัจจุบัน สภาพภูมิอากาศในประเทศไทยมีความแปรปรวนและในช่วงนี้มีอุณหภูมิลดต่ำลงในหลายพื้นที่ ประกอบกับมีฝนตกในบางพื้นที่ด้วย ซึ่งสภาพอากาศดังกล่าวจะส่งผลให้สัตว์เลี้ยงเกิดความเครียด ภูมิคุ้มกันโรคลดลง ทำให้สัตว์ป่วยได้ง่าย จึงขอให้เกษตรกรระวังโรคสัตว์ของตนเองและสัตว์ในหมู่บ้านในฤดูหนาวที่กำลังมาถึง
          สำหรับโรคในโค กระบือ ที่ควรระวัง ได้แก่ โรคคอบวม หรือโรคเฮโมรายิกเซพติซีเมีย เป็นโรคที่มีความรุนแรงในกระบือ สัตว์จะหายใจหอบ มีเสียงดัง คอ หรือหน้าบวมแข็ง ตายอย่างรวดเร็วภายใน 1-2 วัน สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอบวม นอกจากนี้ยังมีโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งสามารถติดต่อ และแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็วในสัตว์กีบคู่ทุกชนิด จากการที่สัตว์กินเอาเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่กับอาหารและน้ำหรือหญ้า หรือหายใจเอาเชื้อที่ปะปนอยู่กับอากาศในบริเวณที่มีสัตว์ป่วยเข้าไปสัตว์จะแสดงอาการมีไข้สูง เบื่ออาหาร น้ำลายไหล มีแผลที่ลิ้น เหงือก และร่องกีบ บางรายอาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม เชื้อเข้าสู่กระแสโลหิต อาจทำให้สัตว์ตายได้ ทั้งโรคคอบวมและปากเท้าเปื่อย กรมปศุสัตว์มีวัคซีนให้บริการเกษตรกรตลอดเวลา
          โรคในสุกร ให้ระวังโรคปากและเท้าเปื่อยเช่นเดียวกับในโค กระบือ และโรคที่อาจพบการระบาดได้ในช่วงนี้ คือโรค PRRS ซึ่งเป็นโรคในสุกรไม่ติดต่อถึงคน แต่เชื้ออาจจะแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็ว สุกรที่ติดเชื้อจะมีอาการไข้ หอบ ไอ ผิวหนังเป็นปื้นแดง ไม่มีแรง หากสุกรท้องจะแท้ง หรือลูกตายแรกคลอด หรืออ่อนแอ แคระแกร็น โตช้า จึงขอให้ผู้เลี้ยงสุกรเข้มงวดการป้องกันโรคเข้าสถานที่เลี้ยงสุกร โดยแยกเลี้ยงสุกรใหม่เพื่อดูอาการก่อนนำเข้ารวมฝูงอย่างน้อย 1 เดือน ต้องทำลายเชื้อโรคที่อาจติดมากับยานพาหนะและคนก่อนเข้าสถานที่เลี้ยงสุกร ด้วยการฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง และในช่วงที่มีโรคนี้ระบาดในพื้นที่ ควรงดการนำสุกรเข้าเลี้ยงใหม่และให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อย่างใกล้ชิด
         สำหรับผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง ไก่ชน และไก่พื้นเมือง  ควรเฝ้าระวัง ดูแล สุขภาพสัตว์ปีกของตนเองอย่างใกล้ชิด   ให้สัตว์ปีกนอนในที่แห้งหรือในเล้าหรือโรงเรือน ที่มีหลังคาและผนังป้องกันลม ฝนได้ รวมทั้งฉีดวัคซีนป้องกันโรคจะช่วยให้สัตว์ปีกแข็งแรง ต้านทานโรคได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์จะตรวจเยี่ยมเกษตรกรอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งทำความสะอาดและฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครัวเรือนที่เลี้ยงสัตว์ปีก และให้ความรู้แก่เกษตรกรและประชาชนในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคที่ถูกต้อง
          ท้ายนี้กรมปศุสัตว์ ฝากถึงประชาชนว่า การประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์ จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ให้รอบคอบ โดยเฉพาะด้านการจัดการ การควบคุม ป้องกันโรค และการตลาด หากสนใจขอข้อมูล หรือคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ ปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ทั่วประเทศ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าว.
…………………………………………….
ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์

ทำอย่างไรเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรถึงจะอยู่รอดได้ (2/2556)

ทำอย่างไรเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรถึงจะอยู่รอดได้ (2/2556) PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย คุณมณฑิชา นาควานิช   
วันพุธที่ 17 ตุลาคม 2012 เวลา 13:05 น.
 นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ แนะเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรให้ใฝ่รู้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ หาช่องทางการตลาดใหม่ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากมูลและน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้เพื่อความอยู่รอด และต้องพร้อมปรับตัวให้สอดคล้องกับทุกสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนอยู่ในขณะนี้
            ในสภาวะการปัจจุบัน ราคาสุกรมีชีวิตตามประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ วันที่ 17 ตุลาคม 2555 เฉลี่ยทั่วประเทศกิโลกรัมละ 53 บาท และสุกรมีชีวิตที่หน้าฟาร์มที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48 – 51 บาท ซึ่งเป็นราคาต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วลดลงคิดเป็นร้อยละ 15.41 ขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่กิโลกรัมละ 58 – 60 บาท เนื่องจากเกษตรกรขยายการผลิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตสุกรมากกว่าความต้องการบริโภค กรมปศุสัตว์ จึงแนะนำให้เกษตรกรควรปรับตัวดังนี้
เกษตรกรควรปรับการผลิตให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการบริโภคของประชากรในประเทศ โดยเฉพาะช่วงฤดูกาลและเทศกาล เช่น เทศกาลกินเจ และปิดภาคเรียน ต้องปรับปริมาณการผลิตลดลงกว่าภาวะปกติ ต้องมีความใฝ่รู้ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาพันธุกรรมสุกรที่เหมาะสมกับสภาพการเลี้ยงในแต่พื้นที่และตรงกับความต้องการของตลาด มีฐานข้อมูลรองรับเรื่องการผลิตลูก การขุน ระยะเวลา และปริมาณการใช้อาหาร เพื่อวางแผนธุรกิจอย่างชัดเจน (ใช้พันธุกรรมสุกรจาก สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์) ใช้วัตถุดิบราคาถูกที่มีในท้องถิ่นหรือที่หาได้มาทดแทนวัตถุดิบราคาแพงในการผลิตอาหารสุกรเพื่อลดต้นทุน และหาทางเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ของอาหารสุกร (ได้รับคำแนะนำ และองค์ความรู้จากเจ้าหน้าที่ กรมปศุสัตว์) มีการใช้ประโยชน์จากมูลสุกร โดยผลิตเป็นก๊าซชีวภาพและเป็นปุ๋ยกากตะกอนที่ได้รับจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพ สำหรับเกษตรกรรายเล็ก รายย่อย ต้องมีการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายกันทำกิจกรรมต่างๆในวงจรการผลิตและจำหน่ายสุกร รวมถึงมีการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ และมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยผู้นำกลุ่มต้องเป็นผู้ที่มีความเข้มแข็ง มีจิตใจดี มีการแบ่งปัน และเสียสละเพื่อสมาชิกกลุ่ม
การเพิ่มทักษะเพื่อหาช่องทางธุรกิจและการตลาดเพื่อรองรับผลผลิตที่แน่นอน นอกเหนือจากการขายลูกสุกรขุน สุกรขุน สุกรพันธุ์ เนื่องจากราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม กับราคาเนื้อสุกรหน้าเขียงแตกต่างกันมาก ทำให้ผู้ค้าได้กำไรมาก แต่ผู้เลี้ยงไม่ได้กำไร เกษตรกรจึงควรหาช่องทางเปิดเขียงจำหน่าย   เนื้อสุกรชำแหละผ่าซีกและชำแหละเป็นชิ้นส่วนเนื้อสุกรเอง รวมถึงการผลิตสินค้าจากเนื้อสุกร จำหน่าย เพื่อความอยู่รอด ---------------------------
ข้อมูล : สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช  สาสะกุล  นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์
...

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

อธิบดีกรมปศุสัตว์ แจ้งเตือนประชาชนระวังโรคฉี่หนู (139/2555)

อธิบดีกรมปศุสัตว์ แจ้งเตือนประชาชนระวังโรคฉี่หนู (139/2555) PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย คุณพรสวรรค์ วิรัตน์เศรษฐสิน   
วันอังคารที่ 25 กันยายน 2012 เวลา 14:10 น.

อธิบดีกรมปศุสัตว์ แจ้งเตือนประชาชนระวังโรคฉี่หนู เพื่อป้องกันและควบคุมโรค ซึ่งพบได้ตลอดปีในทุกภาค เชื้อโรคเข้าทางแผลหรือไชผ่านผิวหนังได้ เตือนผู้มีแผลที่เท้าต้องระวัง  การป้องกันให้สวมรองเท้าบู๊ทหากต้องลุยย่ำโคลน

นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยว่า ขณะนี้เป็นช่วงที่เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลการระบาดของโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคไข้ฉี่หนู โรคนี้พบได้ตลอดปีแต่จะพบมากในช่วงกรกฎาคม-ตุลาคมทุกปี ซึ่งเป็นฤดูกาลทำนา มีฝนตก น้ำขังเฉอะแฉะ โรคนี้มีสาเหตุมาจากหนู โดยเชื้อโรคซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียจะอยู่ในฉี่ของหนู และปนเปื้อนอยู่ตามแหล่งน้ำขังชื้นแฉะทั่วไป โดยติดเชื้อขณะทำนา ทำสวน ระหว่างการจับปลา จับหนูในนา

เชื้อโรคฉี่หนูเข้าสู่ร่างกายได้ 2 ทาง คือกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป  และเชื้อไชเข้าทางรอยแผล รอยขีดข่วน หรือผ่านผิวหนังปกติที่แช่น้ำนานๆ ซึ่งผิวจะอ่อนนุ่ม  เชื้อชนิดนี้มีชีวิตอยู่ในน้ำได้หลายเดือน  โดยทั่วไปมักติดเชื้อขณะเดินย่ำดินโคลน เดินลุยน้ำท่วม หลังติดเชื้อประมาณ 4-11 วัน จะเริ่มมีอาการ โดยจะมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดตามกล้ามเนื้อมาก ปวดน่อง หากมีอาการให้รีบพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการเดินลุยน้ำให้ทราบด้วย เนื่องจากโรคนี้มียารักษาหายขาด หากไม่รีบรักษาและปล่อยไว้นานจนอาการมากขึ้นเช่น ไอเป็นเลือด ตัวเหลือง อาจเสียชีวิตจากไตวาย ตับวายได้ 

การป้องกันโรคฉี่หนู ควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำย่ำโคลน ถ้ามีบาดแผลตามร่างกาย รอยถลอก รอยขีดข่วน ควรงดลงน้ำ  หากจำเป็นต้องลุยน้ำต้องสวมรองเท้าบู๊ทเพื่อป้องกันน้ำไม่ให้น้ำถูกแผล  ผู้ที่ต้องทำงานในที่ชื้นแฉะตามไร่นาหลังจากเสร็จภารกิจแล้วให้รีบอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด  เช็ดตัวให้แห้ง  ในการบริโภคน้ำบ่อควรต้มให้เดือดเพื่อฆ่าเชื้อ  ล้างผักผลไม้ด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง ดูแลบ้านเรือนให้สะอาด กำจัดขยะไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ปิดอาหารให้มิดชิดป้องกันไม่ให้หนูปัสสาวะรดอาหาร อาหารที่ค้างคืนให้อุ่นให้เดือดก่อนรับประทาน โดยเฉพาะผู้ที่บริโภคหนู ควรระมัดระวังการติดเชื้อ ให้สวมถุงมือขณะชำแหละและปรุงให้สุก  อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าว.

……………………………………………………………………………….

ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์

 

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

กรมปศุสัตว์คุมโรคไข้หวัดนกเข้ม ต้องไม่มีสัตว์ปีกลักลอบเข้าประเทศไทย

เขียนโดย คุณมณฑิชา นาควานิช   
วันอังคารที่ 11 กันยายน 2012 เวลา 14:32 น.
กรมปศุสัตว์ดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกเข้ม เพื่อไม่ให้เกิดโรคในประเทศไทย พร้อมปฏิบัติร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชตรวจสอบและเก็บตัวอย่างอุจจาระ ซากของนกอพยพ และนกธรรมชาติทั่วประเทศประสานทุกหน่วยงานด่านชายแดนเข้มงวดตรวจสอบบุคคลเข้าออกต้องไม่มีการนำสัตว์ปีกเข้ามาในประเทศ
          นายทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า จากที่มีข่าวการเกิดโรคไข้หวัดนกในประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทยนั้น กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้หวัดนกอย่างเข้มงวดมาอย่างต่อเนื่อง และได้ดำเนินการร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชในการตรวจสอบและเก็บตัวอย่างอุจจาระ และซากของนกอพยพ และนกธรรมชาติในแหล่งที่นกอาศัยอยู่ทั่วประเทศ รวมทั้งเฝ้าติดตามสถานการณ์การเกิดโรคระบาดในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด พร้อมดำเนินการตามมาตรการเพื่อป้องกัน และควบคุม ไม่ให้เกิดโรคในประเทศไทยได้
          สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศเพื่อนบ้าน มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศเวียดนามที่มากกว่า 40 ครั้ง ทำลายสัตว์ปีกไปกว่า 1.8 แสนตัว และจากรายงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการป้องกันโรคไข้หวัดนกแห่งชาติของเวียดนาม พบว่าสายพันธุ์ของเชื้อไข้หวัดนก H5N1การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการระบาดที่รุนแรงขึ้น และเป็นไปได้ว่าเชื้อโรคดังกล่าวได้แพร่ระบาดมาจากประเทศจีน โดยมีรายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2555 เกิดการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกชนิด H5N1 ขึ้น 3 จุด ในพื้นที่ตำบล Lien Loc และ Hoa Loc ของเมือง Thanh hoa และตำบล Hauh Thuan ของเมือง Quang ngai ทางตอนเหนือของประเทศติดต่อกับประเทศจีน และตอนกลางของประเทศ
          อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ในเวียดนาม อาจมีโอกาสแพร่ระบาดมายังประเทศไทยได้ทางนกอพยพ หรือนกธรรมชาติที่บินเข้ามาสู่ประเทศไทย และการลักลอบนำสัตว์ปีกเข้ามาตามบริเวณแนวชายแดนผ่านทางประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น กรมปศุสัตว์จึงได้ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชในการให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและเก็บตัวอย่างอุจจาระและซากของนกอพยพ และนกธรรมชาติในแหล่งที่นกอาศัยอยู่ทั่วประเทศ หากพบว่ามีนกตายผิดปกติ หรือพบเชื้อโรคไข้หวัดนกจะเข้าควบคุมโรคในพื้นที่ทันที และได้สั่งการให้ด่านกักสัตว์ตามแนวชายแดนทุกด่านร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งทหาร ตำรวจ ศุลกากร เข้มงวดตรวจสอบบุคคลเข้าออกต้องไม่มีการนำสัตว์ปีกเข้ามาในประเทศ พร้อมทั้งพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะเข้า-ออก ทั้งรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ รถเข็น ตลอดจนบุคคลที่เดินเท้าเข้ามา หากพบการกระทำผิดจะจับกุมดำเนินคดีและทำลายสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีกทันที
          อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้หวัดนกอย่างเข้มงวดมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีกิจกรรม ดังนี้
         1) กำหนดให้มีการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกแบบบูรณาการ ปีละ 2 ครั้ง ในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ทั้งหน่วยงานจากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกทุกครัวเรือน พร้อมทั้งสุ่มเก็บตัวอย่างอุจจาระสัตว์ปีก (cloacal swab) ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
         2) กำหนดให้มีการทำความสะอาดและพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยงปีละ 4 ครั้ง ในเดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคมของทุกปี โดยเน้นพื้นที่ที่มีสัตว์ปีกป่วยตาย พื้นที่ที่มีนกอพยพ นกธรรมชาติอาศัยอยู่ พื้นที่ตามแนวชายแดน โรงฆ่าสัตว์ปีก เป็นต้น
         3) ควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก และซากสัตว์ปีกระหว่างจังหวัดและระหว่างโซน ซึ่งปัจจุบันมีการแบ่งพื้นที่การควบคุมเป็น 5 โซน มีจุดตรวจสอบการเคลื่อนย้ายระหว่างโซน 32 จุด
         4) พัฒนาการเลี้ยงสัตว์ปีกในรูปแบบฟาร์มปิดและฟาร์มมาตรฐาน ฟาร์มคอมพาร์ทเมนต์ ซึ่งจะสามารถป้องกันโรคไข้หวัดนกเข้าสู่ฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         5) ปรับระบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองและสัตว์ปีกที่เลี้ยงแบบหลังบ้าน (back yard) ให้มีเล้าหรือโรงเรือนที่สามารถป้องกันแดด ลม ฝน และพาหะนำเชื้อโรคระบาดได้
         6) ขึ้นทะเบียนเป็ดไล่ทุ่งและจำกัดพื้นที่การเลี้ยงให้อยู่ภายในตำบลหรืออำเภอเดียว พร้อมทั้งมีการสุ่มเก็บตัวอย่างอุจจาระตรวจทุกฝูง ปีละ 2 ครั้ง ตลอดจนส่งเสริมให้มีการเลี้ยงเป็นระบบฟาร์ม
         7) ประสานกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในนกอพยพและนกธรรมชาติ และเก็บตัวอย่างอุจจาระ ซาก ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ พร้อมทั้งฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในแหล่งสร้างรังวางไข่ (colony) ปีละ 4 ครั้ง นอกจากนี้มีการสำรวจเส้นทางบินของนกเพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนเฝ้าระวังโรค
         8) ประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิดในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกร่วมกัน
         สำหรับการติดตามสถานการณ์โรคไข้หวัดนกทั่วโลก ตั้งแต่เดือนมกราคม – ปัจจุบัน (11 กันยายน 2555) พบว่า ในสัตว์ปีกเกิดในประเทศจีน เขตปกครองพิเศษฮ่องกง เวียดนาม บังคลาเทศ เนปาล อินเดีย ภูฏาน แอฟริกาใต้ ไต้หวัน อิสราแอล เม็กซิโก เมียนมาร์ กัมพูชา อียิปต์ และอินโดนีเซีย ส่วนในคนพบในประเทศอียิปต์ อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา บังคลาเทศ และจีน ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้เฝ้าติดตามการเกิดโรคระบาดในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด พร้อมดำเนินการตามมาตรการเพื่อป้องกัน และควบคุม ไม่ให้เกิดโรคในประเทศไทยได้
……………………………………………………….
ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์

กรมปศุสัตว์กับการเป็นผู้นำด้านพัฒนาพันธุ์สัตว์ สู่ AEC

เขียนโดย คุณมณฑิชา นาควานิช   
วันพฤหัสบดีที่ 06 กันยายน 2012 เวลา 13:55 น.
อธิบดีกรมปศุสัตว์ เน้นพัฒนาปศุสัตว์ต้นพันธุ์ดี ให้มีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น และสนับสนุนเกษตรกรสู่ระบบมาตรฐาน เพื่อก้าวเป็นผู้นำด้านการพัฒนาพันธุ์สัตว์ในกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
                นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยว่า กรมปศุสัตว์ได้มีการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ซึ่งนอกจากจะทำให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และเงินทุนอย่างเสรีแล้ว ในด้านเกษตรกรไทยต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนด้วยเช่นกัน ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เข้าสู่ระบบ GAP (Good Agricultural Practice) และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต รวมกลุ่มเพื่อใช้ปัจจัยการผลิตร่วมกัน ผลิตสินค้าที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะและหลากหลาย โดยเฉพาะกรมปศุสัตว์เองได้เน้นด้านการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยส่งเสริมการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแก่เกษตรกรและพัฒนาสัตว์พันธุ์ดี นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรสู่สากล สนับสนุนเกษตรกรรายย่อยเข้าสู่ระบบมาตรฐาน สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้กับเกษตรกรอีกด้วย
                ความก้าวหน้าด้านปศุสัตว์ของประเทศไทย ถือได้ว่ามีความก้าวหน้าทางด้านการเลี้ยงสัตว์ในทุกชนิดเชิงการค้ามากกว่าประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน เนื่องจากที่ผ่านเราได้มีการเตรียมความพร้อมโดยสนับสนุนให้มีเกษตรกรและนักวิชาการที่ชำนาญการเลี้ยงสัตว์ มีฐานพันธุกรรมสัตว์ดี ที่ผ่านการวิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์จนสามารถปรับตัวเข้าสู่สภาพภูมิอากาศร้อนชื้นแบบอาเซียนได้เป็นอย่างดี จนทำให้ประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม AEC สนใจนำเข้าสัตว์พันธุ์ดีจากประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายสัตว์ภายในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อการปรับปรุงพันธุ์และเพื่อการบริโภคได้อย่างเสรี ส่งผลให้มีการขยายตัวด้านการเลี้ยงสัตว์ทั้งเพื่อการบริโภค และเพื่อการส่งออกมากขึ้น
                สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ มีบทบาท และภารกิจในด้านการพัฒนาศักยภาพของการผลิตสัตว์ให้เข้าสู่มาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์ ได้รับใบรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต้นพันธุ์ดี ให้มีการผลิตปศุสัตว์พันธุ์ดี เป็นฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ปศุสัตว์ต้นแบบ เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ เพื่อการศึกษาดูงานของประเทศสมาชิกในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็น focal Point ของกรมปศุสัตว์ในการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานการผลิตที่ดี ร่วมกับ สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการผลิตปศุสัตว์ที่มีความสำคัญทางการค้ามีศักยภาพทางการค้า เพื่อผลักดันให้เป็นมาตรฐานอาเซียน ในการเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตเดียวกันโดยยึดหลักให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากล อีกทั้งพัฒนาฟาร์มเครือข่ายปรับปรุงพันธุ์สัตว์ เครือข่ายการผลิตสัตว์ เครือข่ายอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ ให้มีการดูแลสัตว์ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการผลิตสัตว์ที่ดี ให้มีวิธีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ และร่วมวิเคราะห์ข้อมูลกับกรมปศุสัตว์ ขยายเครือข่ายความร่วมมือการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ และรับรองพันธุ์สัตว์ในระดับภูมิภาค และสิ่งสำคัญที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนา คือการมีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน เพื่อเป็นเครือมือใน การตัดสินใจ จึงมีการเร่งด้านการพัฒนาฐานข้อมูลปรับปรุงพันธุ์สัตว์ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางด้านการแข่งขันด้านการปับปรุงพันธุ์สัตว์ พัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนและรับรองพันธุ์สัตว์ของประเทศ เพื่อรับรองพันธุ์สัตว์ รับรองระดับสายเลือด รับรองพันธุ์ประวัติ และรับรองลักษณะและพันธุกรรมด้านผลผลิต เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สัตว์พันธุ์ของประเทศไทย
                การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานและเพิ่มความเข้มแข็งของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ ให้สามารถรองรับการศึกษาวิจัยปรับปรุงพันธุ์ สร้างพันธุ์สัตว์เศรษฐกิจ อนุรักษ์และพัฒนาแหล่งทรัพยากรพันธุกรรมสัตว์เศรษฐกิจและสัตว์พื้นเมือง วิจัยต่อยอดการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ให้เหมาะสม สำหรับใช้ในประเทศและการส่งออกสู่ประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน วิจัยการผลิตสัตว์ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ให้มีความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกับชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการน้ำเสียจากฟาร์มหรือบริการจัดการของเสียให้เป็นพลังงานชีวภาพ ทั้งนี้ เกษตรกรไทยต้องพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัย ของสินค้าปศุสัตว์ในระดับต้นน้ำ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ จึงต้องพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานให้เข้าสู่มาตรฐานฟาร์ม พัฒนามาตรฐานการปฏิบัติทางการผลิตสัตว์ที่ดี เพื่อใช้เป็นพื้นฐานการผลิตสัตว์ และผลักดันให้เป็นมาตรฐานอาเซียน พัฒนาฟาร์มเครือข่าย จัดทำฐานข้อมูลปรับปรุงพันธุ์สัตว์ และพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียน และรับรองพันธุ์สัตว์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าปศุสัตว์ ให้เกิดความแตกต่างในกลุ่มผลิตและตลาดต่อไป
.................................................................................
ข้อมูล : สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ กรมปศุสัตว์

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กรมปศุสัตว์กับการควบคุมโรคไข้หวัดนก (บทความ 8/2555)

เขียนโดย คุณมณฑิชา นาควานิช   
วันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2012 เวลา 13:27 น.
ตั้งแต่มีรายงานเกิดโรคไข้หวัดนกเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2547 ที่ฟาร์มไก่ไข่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี และจากนั้นโรคได้มีการแพร่ระบาดออกไปในหลายจังหวัด ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการควบคุมป้องกันโรคอย่างเร่งด่วน เป็นผลให้การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกลดลงจนกระทั่งไม่พบโรคไข้หวัดนกอีกเลยตั้งแต่ในปลายปี 2551 เป็นต้นมา
          การแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกที่สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีนั้น เกิดจากความร่วมมือแบบบูรณาการของทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ที่จัดทำขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 4 ยุทธศาสตร์หลักที่สำคัญ คือ 1. การจัดระบบการผลิตและเลี้ยงสัตว์ปีก 2. การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคทั้งในสัตว์และคน 3. การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ 4. ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ประชาชน ภาคธุรกิจและนานาประเทศในการรับมือกับปัญหาโรคไข้หวัดนก
1.การจัดระบบการผลิตและเลี้ยงสัตว์ปีก
          มุ่งเน้นการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการเลี้ยงในสัตว์ปีกพื้นเมืองหรือเลี้ยงแบบหลังบ้าน (back yard) เป็ดไล่ทุ่ง ไก่ชน รวมถึงสนามชนไก่ ซ้อมไก่ให้มีรูปแบบการเลี้ยงที่ดี ถูกหลักวิชาการ และสามารถควบคุมป้องกันโรคได้ มีการจัดระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์หรือมาตรฐานฟาร์ม และการจัดทำระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกแบบคอมพาร์ทเมนต์ (compartmentalisation) เพื่อให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล นอกจากนี้ได้ดำเนินมาตรการควบคุม และตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันแพร่ระบาดของโรคไปยังพื้นที่อื่น ๆ โดยกำหนดให้มีการตั้งจุดตรวจทั่วประเทศจำนวน 152 จุด และจุดตรวจระหว่างโซนการเลี้ยงสัตว์ปีกจำนวน 21 จุดตรวจ โดยมีการตั้งจุดตรวจครอบคลุมตามแนวชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งในสนามบิน ท่าเรือต่างๆ และมีการจับกุมดำเนินคดีผู้ลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์อย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้มั่นใจว่าการผลิตไก่ไทยมีความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะตลอดสายการผลิต กรมปศุสัตว์ได้จัดทำระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) โดยใช้ระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ในการประมวลผล เพื่อให้สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกได้
2.การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคทั้งในสัตว์และคน
          มุ่งเน้นการปรับปรุงระบบการควบคุมและป้องกันโรคในสัตว์ปีก โดยดำเนินการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในด้านการควบคุม ป้องกันโรค การสอบสวนโรค การควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ การตรวจวินิจฉัยโรค และด้านระบาดวิทยา เพื่อให้การควบคุมป้องกันโรคเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังได้มีการจัดทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (Avian Influenza Investigation Team (AIIT)) ในระดับอำภอจนถึงระดับจังหวัด เพื่อความรวดเร็วในการสอบสวนและควบคุมโรค มีการซ้อมแผนปฏิบัติงานทั้งชนิดซ้อมบนโต๊ะ (Table top Exercise) และซ้อมแผนการปฏิบัติจริงในพื้นที่ เพื่อให้บุคลาการมีความเข้าใจตรงกันและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ได้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล การรายงานโรคไข้หวัดนกในรูปแบบ Realtime มีรายงานสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติประจำวันทุกวัน และสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จาก website ของกรมปศุสัตว์ ตลอดจนร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลร่วมกัน
          ในส่วนของการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ ได้มีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินในระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับส่วนกลางเพื่อแก้ไขปัญหาในกรณีมีการแพร่ระบาดของโรค มีการสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก ระดับหมู่บ้าน และตำบลโดยมีการพัฒนาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินงานที่มากขึ้น ทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญให้มีการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกแบบบูรณาการเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยจัดทีมร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการเข้าตรวจสอบสัตว์ปีกในทุกหมู่บ้าน เพื่อดูอาการสัตว์ปีก หากพบป่วยหรือตายมีอาการคล้ายโรคไข้หวัดนกจะควบคุมโรคทันที มีการรณรงค์ทำความสะอาด และทำลายเชื้อโรค ปีละ 4 ครั้ง ในพื้นที่เสี่ยง โดยใช้ยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ เพื่อเป็นการทำลายเชื้อโรคที่อาจหลงเหลืออยู่ในสิ่งแวดล้อม
          ในส่วนของการควบคุมโรค เมื่อมีโรคไข้หวัดนกเกิดขึ้น สัตวแพทย์จะดำเนินการทำลายสัตว์ปีกจุดที่เกิดโรคทันที พร้อมทั้งสำรวจค้นหาโรคเพิ่มเติม และฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ ห้ามการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก และซากสัตว์ปีกในรัศมี 10 กิโลเมตร เกษตรกรจะได้รับค่าชดใช้ในการทำลายสัตว์ 75% ของราคาสัตว์จากงบภัยพิบัติฉุกเฉิน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 โดยการสั่งทำลายเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีชุดเฉพาะกิจในการควบคุมโรคประจำเขต 9 เขตเพื่อปฏิบัติงานที่เร่งด่วนอีกด้วย
3.การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงสาธารณสุข
4.ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ประชาชน ภาคธุรกิจและนานาประเทศในการรับมือกับปัญหาโรคไข้หวัดนก
          มีการพัฒนาเครือข่ายภาคประชาชน ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อช่วยในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้หวัดนก มีการสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรและสหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกรายย่อย เช่น สหกรณ์ผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง ซึ่งปัจจุบันมี    27 แห่ง 22 จังหวัด ซึ่งทำให้มีความเข้มแข็งด้านการผลิต และการตลาด การรวมตัวของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง โดยจัดทำเป็นฟาร์มสาธิต 3,548 ฟาร์ม พร้อมมีเครือข่ายผู้เลี้ยงสัตว์ปีก 106,440 ราย ทั่วประเทศ
          การมีส่วนร่วมกับภาคธุรกิจโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ ทั้งสัตว์ปีกเนื้อ สัตว์ปีกไข่ และสัตว์ปีกพันธุ์ ซึ่งได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการหารือกันทั้งด้านการผลิต การตลาด การป้องกันโรคระบาดต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ นอกจากนี้มีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคี องค์การระหว่างประเทศต่างๆ เช่น องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยร่วมมือทั้งในด้านงานศึกษาวิจัย การเตรียมพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ รวมถึงความช่วยเหลือด้านงบประมาณในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องด้วย
.......................................................................................
ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์
เรียบเรียง และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กรมปศุสัตว์กับการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบภัยพิบัติ(129/2555)

นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผย กรมปศุสัตว์เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบภัยพิบัติ
          หากมีสถานการณ์การเกิดภัยธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาด เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้ปศุสัตว์ล้มตายและขาดแคลนอาหาร  กรมปศุสัตว์ในฐานะผู้ดูแลด้านปศุสัตว์  ได้มีการเตรียมการรองรับปัญหาจากการขาดแคลนเสบียงสัตว์  เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โดยผลิตเสบียงสัตว์สำรองในหน่วยงาน  ผลิตโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ และสถานีพัฒนาอาหารสัตว์  29 แห่ง ทุกภูมิภาค ทั่วประเทศ ซึ่งสามารถสนับสนุนเกษตรกรได้ทันที  โดยได้จัดสรรและสำรองหญ้าแห้งให้หน่วยงานต่างๆ ไว้ใช้ในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยธรรมชาติ  และขาดแคลน อีกทั้ง ได้มีการสำรองเวชภัณฑ์ต่างๆ ที่จำเป็นไว้ที่ สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยทั้ง 9 แห่ง และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกแห่ง
          นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศติดตามการรายงานพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาตลอดเวลา รวมทั้งการประสานกับหน่วยงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และติดตามรายงานสภาพน้ำท่า โดยประสานกับชลประทานจังหวัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทราบสถานการของภัยที่จะเกิดขึ้น และเมื่อจะมีภัยเกิดขึ้น ต้องเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนภัยกับเกษตรกร เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ หาวิธีการป้องกันและแก้ไขเพื่อลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด เช่นการเตรียมอพยพสัตว์เคลื่อนย้ายสัตว์ไปสู่ที่ปลอดภัย เพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้น  รวมทั้งให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพสัตว์และรักษาสัตว์ป่วย หรือสัตว์ที่บาดเจ็บจากการเคลื่อนย้าย และหากมีโรคระบาดเกิดขึ้น จะต้องเร่งทำการป้องกัน รวมทั้งเก็บตัวอย่าง เพื่อตรวจวินิจฉัย และหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคโดยเร็วที่สุด
            ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมจึงขอให้พี่น้องเกษตรกรรับฟังข้อมูลข่าวสารสถานการณ์จากภาครัฐ และสื่อต่างๆ และจัดเตรียมสถานที่เลี้ยงสัตว์ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง และทำการอพยพสัตว์เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ จัดเตรียมอาหาร ยา เกลือแร่ น้ำสะอาด และหมั่นสังเกตอาการเจ็บป่วยของปศุสัตว์ หากพบสัตว์ป่วยหรือต้องการเสบียงอาหารสัตว์ สามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ใกล้บ้านเพื่อให้ความช่วยเหลือทันที
.........................................................................
ข้อมูล : สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ระวังโค กระบือเป็นโรคท้องอืดในช่วงฤดูฝน (119/2555) PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย คุณมณฑิชา นาควานิช   
วันพุธที่ 18 กรกฏาคม 2012 เวลา 14:18 น.
กรมปศุสัตว์เตือนเกษตรกรอย่าให้โค กระบือ กินหญ้าอ่อนมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืด หากรักษาไม่ทันอาจทำให้สัตว์ตายได้
          นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เตือนภัยเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ว่า ในช่วงฤดูฝน โค กระบือ อาจกินหญ้าอ่อนเป็นปริมาณมาก ให้สัตว์มีอาการท้องอืดได้ และเกษตรกรจะต้องหมั่นสังเกตสุขภาพสัตว์อย่างใกล้ชิด เพราะในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงอาจทำให้สัตว์มีสุขภาพอ่อนแอ อาจเจ็บป่วยได้ง่าย
          อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า โรคที่จะเกิดในสัตว์ประจำในช่วงนี้ จะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด ปอดบวม และมักมีโรคท้องอืดในสัตว์ใหญ่ได้ เนื่องจากในช่วงต้นฤดูฝนต้นหญ้าอาหารสัตว์เริ่มแตกใบอ่อน มีรสชาติน่ากิน ทำให้สัตว์กินพืชหญ้าสดในช่วงนี้มากกว่าปกติ อาจทำให้ท้องอืดได้ง่าย ดังนั้นจึงไม่ควรตัดหญ้าอ่อนให้สัตว์กินมากเกินไป ควรเตรียมอาหารให้กินอย่างพอเพียง ให้อยู่แต่ในคอกที่มีโรงเรือน มีหลังคาสำหรับกันแดดและฝน ต้องดูแลรักษาพื้นคอกให้สะอาด แห้ง นอกจากนี้ ควรมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เช่น โรคคอบวม โรคปากและเท้าเปื่อย ตรงตามกำหนดเวลา ถ่ายพยาธิเป็นประจำเพื่อให้ร่างการแข็งแรง อย่างน้อยปีละ 1 –2 ครั้ง เมื่อมีสัตว์ป่วยต้องแยกสัตว์ออกจากฝูงทันที เพื่อป้องกันสัตว์ตัวอื่นเจ็บป่วยตามไปด้วย
         การแก้ไขอาการท้องอืด เพื่อให้แก๊สระบายออก อาจโดยกรอกน้ำมันพืช พาสัตว์จูงเดิน หรือหากมีอาการมาก ให้รีบปรึกษาเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัดใกล้บ้าน เนื่องจากในบางครั้งอาจต้องให้สัตวแพทย์เจาะกระเพาะเพื่อระบายแก๊สออก เพราะหากรักษาไม่ทันอาจทำให้สัตว์ตายได้
         วิธีป้องกัน คือ จำกัดพื้นที่ของโค กระบือ ไม่ให้กินหญ้าอ่อนมากเกินไป หรือกักสัตว์ไว้ให้กินหญ้าแห้ง ฟางแห้ง หรือหญ้าสด ที่ไม่อ่อนเกินไปจนใกล้อิ่ม แล้วจึงปล่อยออกแทะเล็มในแปลงตามปกติ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในท้ายที่สุด
---------------------------------------------
ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์                               
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล   กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กรมปศุสัตว์เตือนประชาชนที่ชอบกินเนื้อ เครื่องในสุกรสุกๆ ดิบๆ เสี่ยงพยาธิ

กรมปศุสัตว์เตือนประชาชนไม่ควรกินเนื้อ เครื่องใน หรือเลือดสุกรแบบสุกๆ ดิบๆ เพราะอาจได้รับตัวอ่อนพยาธิทริคิเนลล่าชอนไชเข้าในกระแสเลือดส่งผลถึงตายได้ แนะให้กินแบบปรุงสุกปลอดภัยแน่นอน พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์สร้างความเข้าใจ และให้ความรู้ในการป้องกัน กำจัดพยาธิออกจากวงจรสุกร
            นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์เผยว่า ประชาชนไม่ควรบริโภคเนื้อสุกร เครื่องใน หรือเลือดสุกรแบบดิบ หรือกึ่งสุกกึ่งดิบเพราะนอกจากไม่ทำให้ได้รับคุณค่าทางโภชนาการที่สูงขึ้นกว่าการบริโภคแบบปรุงสุกแล้วอาจทำให้พยาธิที่ชื่อ ทริคิเนลล่า เข้าไปในทางเดินอาหารและเข้าสู่ระบบกระแสเลือดและชอนไชเข้าสู่หัวใจมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ แนะนำให้ประชาชนปรุงอาหารให้สุกก่อนบริโภคทุกครั้ง จะปลอดภัยจากเชื้อโรคและพยาธิแน่นอน พร้อมส่งทีมเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ออกให้คำแนะนำการเลี้ยงสุกร ฉีดวัคซีนกำจัดพยาธิและทำวัคซีนป้องกันให้แก่สุกรเพื่อป้องกันและขจัดพยาธิออกจากวงจรสุกร
            เมื่อมนุษย์กินเนื้อสุกร เครื่องในสุกรที่มีตัวอ่อนพยาธิในระยะต่างๆ และเลือดสุกรที่มีพายาธินี้โดยไม่ปรุงให้สุกเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร ตัวอ่อนพยาธิจะไชเข้ากล้ามเนื้ออ่อน กล้ามเนื้อกระบังลม กล้ามเนื้อหัวใจ เนื้อเยื่อและหลอดเลือดฝอยในปอด สมองและตับ-ไต หากรักษาโดยกำจัดตัวอ่อนพยาธิที่ชอนไชไปทั่วร่างกายและควบคุมปฏิกิริยาการอักเสบแบบทั่วร่างกายของผู้ป่วยไม่ทัน จะทำให้อวัยวะดังกล่าวล้มเหลว ขึ้นอยู่กับปริมาณและความถี่ในการกินเนื้อและอวัยวะภายในของสุกรที่มีตัวอ่อนพยาธิในแคปซูลแฝงอยู่ รวมถึงเลือดสุกรที่มีตัวอ่อนพยาธิที่ผู้ป่วยกินเข้าเข้า ฉะนั้นการกินลาบเลือด/ลาบหลู้ที่ทำจากเนื้อ อวัยวะภายใน เลือดสุกรดิบ จะทำให้ผู้ป่วยได้รับตัวอ่อนพยาธิที่มีอยู่ในสุกรโจมตีอย่างรุนแรงและมักจะตายในที่สุด 
           โรคทริคิโนสิส (Trichinosis) เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลมใน Family Trichinellidae, genus Trichinella จัดเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน (Zoonosis) ซึ่งเป็นพยาธิในเนื้อเยื่อที่พบการระบาดได้ทั่วโลก และเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของหลายๆประเทศ รวมทั้งประเทศไทย พยาธินี้สามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีกบางชนิด และสัตว์เลื้อยคลาน ทั้งที่เป็นสัตว์ป่า และสัตว์กินเนื้อ เช่น สุกร ม้า สุนัข แมว หนู กระรอก กระต่าย แมวน้า ปลาวาฬ นกเค้าแมว และจระเข้ 
           จรชีวิตของพยาธิทริคิเนลล่า เมื่อสัตว์รวมถึงคนที่ได้รับพยาธิชนิดนี้จากบริโภคเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนตัวอ่อนทั้งแบบที่มีแคปซูล และไม่มีแคปซูลหุ้ม ตัวอ่อนในเนื้อสัตว์เหล่านั้นจะถูกกระตุ้นด้วยน้ำย่อยที่หลั่งจากกระเพาะอาหาร และไปฝังตัวที่ผนังลำไส้เล็กอย่างรวดเร็ว ระหว่างนั้นจะมีการลอกคราบ 4 ครั้ง ก่อนจะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 2 วัน หลังจากนั้นตัวผู้และตัวเมียจะผสมพันธุ์กัน และออกลูกเป็น larva ในรุ่นต่อไปภายในระยะเวลา 5-7 วันหลังได้รับพยาธิเข้าสู่ร่างกาย ส่วนตัวผู้จะตายไป ในขณะที่ตัวเมีย 1 ตัวจะสามารถผลิตพยาธิตัวอ่อนได้ประมาณ 500 1,500 ตัว และจะผลิตตัวอ่อนได้นาน 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นพยาธิตัวเมียจะตายไป และถูกกำจัดโดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย  จากนั้นตัวอ่อนจะเคลื่อนที่ไปตามกระแสเลือด และทางเดินน้ำเหลืองทั่วร่างกายของโฮสต์ ในวันที่ 20 หลังจากได้รับพยาธิเข้าไป ตัวอ่อนจะเคลื่อนไปฝังตัวในกล้ามเนื้อต่างๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อลายที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เช่น กล้ามเนื้อกระบังลม กล้ามเนื้อซี่โครง กล้ามเนื้อท้อง กล้ามเนื้อตา กล้ามเนื้อบดเคี้ยว และสร้างแคปซูลหุ้มตัวอ่อน ที่เรียกว่า nurse cell ในขณะที่ตัวอ่อนของพยาธิบางสายพันธุ์จะไม่สร้างแคปซูลหุ้ม เพียงแค่ขดและฝังตัวอยู่ในกล้ามเนื้อลายเท่านั้น
            อาการป่วยในผู้ที่ได้รับเชื้อ ช่วงแรกผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเมื่อยล้าครั่นเนื้อ ครั่นตัว อ่อนเพลีย อาจมีอาการไอ อาเจียน หรือท้องเดินอ่อนๆ และเหมือนจะมีไข้ การแสบปวดตามกล้ามเนื้อ หายในลำบากเหนื่อยหอบ คล้ายถูกพิษเห็ดเมา ในเด็ก คนชรา ผู้มีโรคประจำตัวและอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง จะได้รับผลกระทบจากตัวอ่อนพยาธิทริคิเนลล่าอย่างรุนแรง และอาจตายได้ง่ายกว่าคนปกติที่แข็งแรงกว่า ส่วนในสตรีมีครรภ์อาจทำให้เด็กพิการและเสียชีวิตได้
 การควบคุมและป้องกันโรค
1. ปรับปรุงการสุขาภิบาลในบริเวณคอกเลี้ยงสัตว์ ควบคุมหนู และสัตว์อื่นๆไม่ให้เข้ามาภายในคอกสัตว์ หรือโรงเรือน
2. ถ่ายพยาธิให้สัตว์อย่างสม่ำเสมอในทุกช่วงอายุ เช่น
          โปรแกรมการถ่ายพยาธิสุกร
          พ่อสุกร ควรถ่ายพยาธิทุก 6 เดือน
          แม่สุกรและสุกรสาว ควรถ่ายพยาธิก่อนการผสมพันธุ์ทุกครั้ง และก่อนเข้าคอกคลอด
          ลูกสุกรหย่านม ควรถ่ายพยาธิ 1 ครั้งหลังหย่านม และเมื่ออายุ 3, 6 เดือน
          ลูกสุกรขุน ควรถ่ายพยาธิโดยวิธีให้กินเป็นระยะๆติดต่อกัน ตามคำแนะนำของยาถ่ายพยาธิแต่ละชนิด
3. ไม่นำเศษซากเนื้อสัตว์ หรือซากสัตว์ที่ตายแล้วไปเลี้ยงสุกร หรือสัตว์อื่น ควรนำไปฝังกลบ หรือกำจัดซากสัตว์ให้ถูกวิธี หากจำเป็นต้องนำเศษเนื้อไปเลี้ยงสัตว์ ต้องนำไปต้มให้สุกเสียก่อน
4. ปรับลักษณะการเลี้ยง จากการเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเอง เป็นการเลี้ยงภายในคอก
5. สร้างพฤติกรรมกำรบริโภคที่ถูกสุขลักษณะ เช่น รณรงค์การบริโภคอาหารที่ปรุงสุก สะอาด ถูกหลักอนามัยเท่านั้น ไม่บริโภคเนื้อสัตว์สุกๆดิบๆ โดยเฉพาะเนื้อหมูป่า หมูชาวเขา
             นอกจากนี้ การที่ผู้บริโภคคิดว่า การใส่พริกขี้หนู มะนาว เหล้าขาวดีกรีสูงจำนวนมากลงไปปรุงลาบเลือดหรือลาบหลู้จะสามารถฆ่าพยาธิได้นั้น เป็นความหลงผิดอย่างยิ่ง เพราะกรดมะนาว กรดพริก เอธานอลในเหล้าขาว จะทำให้พยาธิตัวอ่อนเกิดความเจ็บแสบแล้วยิ่งคลอกคราบ เจริญเติบโตเร็วกว่าปกติ จะเร่งชอนไชเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายและกระแสเลือด เพื่อหนีตายและเร่งสืบเผ่าพันธุ์ต่อไป ดังนั้นจึงขอเชิญชวนให้ประชาชนตระหนักถึงภัยของการบริโภคอาหารจากเนื้อสุกรดิบอยู่เป็นประจำ ให้ปรับเปลี่ยนมาบริโภคเนื้อสุกร เครื่องใน หรือเลือดสุกรที่ผ่านการปรุงสุกทุกครั้งจะทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากเชื้อโรคและพยาธิแน่นอน  ท้ายที่สุดนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกเนื่องจากโรคทริคิโนสิสสามารถป้องกันได้โดยการบริโภคเนื้อสุกรที่ผ่านการปรุงสุก   หากจะนำอาหารพวกเศษเนื้อมาใช้เลี้ยงสุกร ควรต้มให้สุกเสียก่อน เพื่อป้องกันการเกิดโรคในสุกร ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการเเพร่โรคสู่คนได้ รวมทั้งจะเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรปรับระบบการเลี้ยงสุกรให้มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพมากขึ้น พร้อมทั้งให้เกษตรกรสังเกตสุกรที่เลี้ยง หากพบสุกรแสดงอาการป่วยให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ เพื่อดำเนินการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และหากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเรื่องโรคสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ หรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด หรือโทรศัพท์  085 660 9906
                                                ............................................................................
ข้อมูล/ข่าว : คณณัฏฐ์  บุณณ์มั่งมีปภา นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กลุ่มพัฒนาวิชาการปศุสัตว์ สำนักผู้เชี่ยวชาญ/สำนักควบคุมป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช  สาสะกุล  นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กรมปศุสัตว์แจงโรคเฮโมฯ หรือโรคคอบวมในโค กระบือ ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

อธิบดีกรมปศุสัตว์แจงโรคเฮโมรายิกเซพติกซีเมียหรือโรคคอบวมสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนในโค กระบืออายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป และต้องฉีดซ้ำทุกๆ ปี เพื่อลดอัตราการสูญเสียปศุสัตว์จากโรคนี้ และขอความร่วมมือเกษตรกรสังเกตอาการของปศุสัตว์ หากพบสัตว์แสดงอาการป่วยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ หรือปศุสัตว์จังหวัด เพื่อควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็วและลดความเสียหายจากโรคระบาด
นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบทันที ที่มีข่าวกระบือป่วยตายในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ พบกระบือแสดงอาการไข้สูง น้ำลายไหล ตัวแข็ง จากการตรวจสอบเบื้องต้นคาดว่าจะมีสาเหตุมาจากโรคคอบวม หรือโรคเฮโมรายิกเซพติกซีเมีย ซึ่งโรคนี้เป็นโรคระบาดรุนแรงในกระบือ และยังสามารถพบโคป่วยด้วยโรคนี้ได้ แต่จะไม่แสดงอาการรุนแรงในโคเท่ากระบือ แม้ว่าโรคนี้จะไม่นำโรคมาสู่คน แต่ก็สามารถแพร่เชื้อสร้างความเสียหายให้กับปศุสัตว์อื่นๆ ได้ กรมปศุสัตว์จึงเข้าควบคุม ป้องกันไม่ให้โรคนี้แพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ โดยดำเนินการดังนี้
  1. เก็บตัวอย่างส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเพาะเชื้อ และทดสอบยาที่มีความไวต่อการรักษา
  2. ประกาศเขตโรคระบาดชั่วคราว หรือเขตสงสัยโรคระบาด เพื่อควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วยและสัตว์ในพื้นที่
  3. ทำบันทึกสั่งกักสัตว์ป่วยและแยกสัตว์ร่วมฝูงออกจากสัตว์ป่วย
  4. รักษาสัตว์ป่วย โดยการฉีดยาปฏิชีวนะ และรักษาตามอาการ โดยเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อที่ได้จากการเพาะเชื้อตัวอย่างที่เก็บในการระบาดครั้งนี้
  5. สำหรับสัตว์ร่วมฝูงจะฉีดยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมเชื้อโรคในตัวสัตว์และฉีดวัคซีนป้องกันโรคหลังจากที่ได้ฉีดยาปฏิชีวนะไปแล้ว
  6. กรณีสัตว์ตาย ให้ควบคุมการฝังซากให้ถูกต้องตามระเบียบของกรมปศุสัตว์
  7. พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุกวันในบริเวณคอกและโรงเรือน รวมทั้งทำลายเชื้อโรคที่เสื้อผ้า รองเท้า และอุปกรณ์ต่างๆภายในโรงเรือน และงดไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าออก บริเวณจุดเกิดโรค
  8. ดำเนินการควบคุมโรคในสัตว์ที่อยู่ในรัศมี 1 กิโลเมตร ถึง 5 กิโลเมตรจากจุดเกิดโรค
  9. ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกษตรกรในพื้นที่เกี่ยวกับโรคคอบวมและวิธีป้องกันโรค
ท้ายที่สุดนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ย้ำว่า โรคคอบวม หรือโรคเฮโมรายิกเซพติกซีเมีย เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่พบอยู่ในระบบทางเดินหายใจของสัตว์ปกติ โดยสัตว์จะไม่แสดงอาการป่วย แต่เมื่อมีภาวะที่ทำให้สัตว์เครียด เช่น ช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะต้นฤดูฝน มีการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือการใช้แรงงานสัตว์มากเกินไป สัตว์จะแสดงอาการป่วยและขับเชื้อออกสู่สิ่งแวดล้อมผ่านทางสิ่งขับถ่ายต่างๆ และปนเปื้อนในอาหารและน้ำ เมื่อสัตว์ตัวอื่นสัมผัสเชื้อ ทำให้สัตว์ป่วยและเกิดการแพร่กระจายของโรคอย่างรวดเร็ว จึงขอให้เกษตรกรให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอบวมให้กับกระบือ และโค ที่มีอายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป โดยวัคซีนดังกล่าวสามารถคุ้มโรคได้นานถึง 1 ปี และขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์สังเกตอาการสัตว์ที่เลี้ยง หากพบสัตว์แสดงอาการป่วยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ หรือปศุสัตว์จังหวัด เพื่อควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็วและลดความเสียหายจากโรคระบาด ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเรื่องโรคและแนวทางการป้องกันโรคสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอในท้องที่ หรือโทรศัพท์ 085-6609906
...................................................................
ข้อมูล / ข่าว : ส่วนโรคปศุสัตว์ สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

โครงการป้องกันโรคพิษพิษสุนัขบ้าอำเภอฝาง

สำนักงานปศุสัตว์อำเภอฝางได้ร่วมรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร่วมกับท้องถิ่นในอำเภอฝางโดยได้ทำการบริการฉีดวัคซีนให้กับสุนัข-แมว และผ่าตัดตอนทำหมัน