การนำเข้าสัตว์และซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักร (บทความที่2/2556)
ปัจจุบันเราจะได้ยินข่าวการแพร่ระบาดของโรคระบาดสัตว์เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกกับโรคระบาดที่เกิดขึ้น และหลายคนงดกินเนื้อสัตว์ เนื่องจากวิตกว่าจะรับเชื้อจากเนื้อสัตว์เหล่านั้น ซึ่งโรคระบาดเหล่านั้นมีทั้งที่สามารถติดต่อจากสัตว์สู่สัตว์ และจากสัตว์สู่คน เช่นโรคไข้หวัดนก โรคพิษสุนัขบ้า โรคแอนแทรกซ์ โรควัวบ้า โรคปากและเท้าเปื่อย ฯลฯ แม้ในประเทศที่มีวิวัฒนาการก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างหลายประเทศในแถบยุโรป เมื่อเกิดโรคระบาดสัตว์ขึ้น เช่น โรควัวบ้าโรคปากและเท้าเปื่อยระบาด ก็ยังไม่สามารถเข้าควบคุมและป้องกันโรคระบาดได้อย่างทันท่วงที ส่งผลให้เกิดความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจปีละนับหลายล้านบาท
วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคระบาด ก็คือ การจัดตั้งหน่วยดูแลและควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์เข้า – ออกพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรค
กรมปศุสัตว์ โดยสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายและกักกันสัตว์-ซากสัตว์ เข้า-ออกระหว่างประเทศ โดยถือเป็นด่านปราการสำคัญในการควบคุม ป้องกัน และกำจัดโรคระบาด ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งการค้าสัตว์หรือซากสัตว์ระหว่างประเทศ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการนำโรคสัตว์ต่างๆ มาแพร่ระบาดในประเทศได้
ดังนั้น การนำเข้าสัตว์และซากสัตว์เข้าสู่ประเทศไทย จึงมีจำเป็นที่กรมปศุสัตว์จะต้องดำเนินการอย่างเข้มงวด โดยมีขั้นตอนการนำเข้าสัตว์และซากสัตว์เข้าราชอาณาจักรดังนี้
การยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้า ต้องดำเนินการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน และควรติดต่อด้วยตนเองโดยยื่นคำร้องเป็นหนังสือตามแบบที่กรมปศุสัตว์กำหนด พร้อมแนบสำเนาหลักฐานบัตรประจำตัวมาด้วยทุกครั้ง
กรมปศุสัตว์จะตรวจสอบสภาวะโรคของประเทศต้นทางจนมั่นใจว่าปลอดภัยจริง จึงออกหนังสืออนุมัติในหลักการอนุญาตนำสัตว์เข้าราชอาณาจักรฉบับอังกฤษ (Import Permit) พร้อมกำหนดเงื่อนไข (Requirement) การนำเข้าของสัตว์นั้น ซึ่งลงนามโดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ส่วนผู้ขออนุญาตเมื่อได้รับเอกสารหนังสืออนุมัติในการอนุญาตนำเข้าฯ ของกรมปศุสัตว์แล้วให้นำส่งไปยังประเทศต้นทางทันที เพื่อประเทศต้นทางจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไข (Requirement) ที่กรมปศุสัตว์กำหนด
ผู้ขออนุญาตต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ณ ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศ ประจำท่าเข้านั้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓ วัน ก่อนสัตว์เดินทางมาถึง เพื่อสัตวแพทย์จะได้เตรียมการอำนวยความสะดวกตรวจสอบสัตว์ ทำลายเชื้อโรคพาหนะบรรทุกสัตว์จัดเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ควบคุมรถบรรทุกสัตว์ไปยังสถานกักกันสัตว์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด และออกเอกสารใบแจ้งอนุมัตินำเข้า (ร.๖) ให้ผู้ขออนุญาตนำไปติดต่อดำเนินการทางพิธีศุลกากรที่ด่านศุลกากรประจำท่าเข้านั้น
สัตว์ที่นำเข้าต้องมีเอกสารหนังสือรับรองสุขภาพ (Health Certificate) เป็นภาษาอังกฤษ ออกให้โดยสัตวแพทย์รัฐบาลผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศต้นทาง ถ้าเอกสารรับรองเป็นภาษาอื่น ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลประเทศต้นทาง หรือเจ้าหน้าที่สถานทูตประเทศต้นทางประจำเทศไทย หนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ต้องตามเงื่อนไขการนำเข้าที่กรมปศุสัตว์กำหนดทุกประการ ถ้ามีหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ไม่ตรงตามเงื่อนไขที่กรมปศุสัตว์กำหนด จะไม่อนุญาตให้นำสัตว์นั้นเข้าประเทศไทย
สัตว์ที่นำเข้ามาทำพันธุ์ ต้องมีเอกสารหนังสือรับรองพันธุ์ประวัติ (Pedigree) แนบมาด้วยทุกครั้ง
ผู้นำเข้าต้องเตรียมเอกสารแสดงราคาสัตว์ มอบให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทุกครั้งที่นำสัตว์เข้าราชอาณาจักร
เมื่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนแล้วจะออกใบอนุญาตนำเข้า (ร.๗) ให้ผู้ขออนุญาตนำเข้า เพื่อใช้ในการตรวจปล่อยสินค้า และนำสัตว์ไปกักตรวจ ณ สถานกักกันสัตว์ที่กำหนด
หากสัตว์ป่วย หรือตาย ขณะเดินทางมาถึง หรือระหว่างกักกันดูอาการ เจ้าของสัตว์ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ทันที เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ และเก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการเพื่อชันสูตรโรคต่อไป
ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการในการป้องกันและนำสัตว์ และซากสัตว์เข้าราชอาณาจักร โดยมีด่านกักกันสัตว์ในประเทศ และระหว่างประเทศของกรมปศุสัตว์ ทั่วประเทศที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังการเคลื่อนย้ายสัตว์เข้า-ออกประเทศอย่างเข้มงวด เพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้โรคระบาดจากต่างประเทศเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศได้ อันจะส่งผลเสียหายกับประชาชนและปศุสัตว์ในประเทศไทยได้
เรียบเรียงโดย : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์
วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคระบาด ก็คือ การจัดตั้งหน่วยดูแลและควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์เข้า – ออกพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรค
กรมปศุสัตว์ โดยสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายและกักกันสัตว์-ซากสัตว์ เข้า-ออกระหว่างประเทศ โดยถือเป็นด่านปราการสำคัญในการควบคุม ป้องกัน และกำจัดโรคระบาด ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งการค้าสัตว์หรือซากสัตว์ระหว่างประเทศ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการนำโรคสัตว์ต่างๆ มาแพร่ระบาดในประเทศได้
ดังนั้น การนำเข้าสัตว์และซากสัตว์เข้าสู่ประเทศไทย จึงมีจำเป็นที่กรมปศุสัตว์จะต้องดำเนินการอย่างเข้มงวด โดยมีขั้นตอนการนำเข้าสัตว์และซากสัตว์เข้าราชอาณาจักรดังนี้
การดำเนินการล่วงหน้า
ติดต่อ สอบถาม ขอคำแนะนำเบื้องต้นจากเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าเข้านั้น เนื่องจากสัตว์นำเข้าต้องผ่านการกักตรวจจากสัตวแพทย์ด่านกักกันระหว่างประเทศ ณ คอกกักกันสัตว์ของด่าน หากผู้นำเข้าประสงค์จะกักกันสัตว์ในพื้นที่ของตนเอง ต้องจัดเตรียมสถานกักกันสัตว์ให้เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์กรมปศุสัตว์ตรวจรับรองความเหมาะสมให้เรียบร้อยก่อนการยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้า ต้องดำเนินการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน และควรติดต่อด้วยตนเองโดยยื่นคำร้องเป็นหนังสือตามแบบที่กรมปศุสัตว์กำหนด พร้อมแนบสำเนาหลักฐานบัตรประจำตัวมาด้วยทุกครั้ง
กรมปศุสัตว์จะตรวจสอบสภาวะโรคของประเทศต้นทางจนมั่นใจว่าปลอดภัยจริง จึงออกหนังสืออนุมัติในหลักการอนุญาตนำสัตว์เข้าราชอาณาจักรฉบับอังกฤษ (Import Permit) พร้อมกำหนดเงื่อนไข (Requirement) การนำเข้าของสัตว์นั้น ซึ่งลงนามโดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ส่วนผู้ขออนุญาตเมื่อได้รับเอกสารหนังสืออนุมัติในการอนุญาตนำเข้าฯ ของกรมปศุสัตว์แล้วให้นำส่งไปยังประเทศต้นทางทันที เพื่อประเทศต้นทางจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไข (Requirement) ที่กรมปศุสัตว์กำหนด
ผู้ขออนุญาตต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ณ ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศ ประจำท่าเข้านั้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓ วัน ก่อนสัตว์เดินทางมาถึง เพื่อสัตวแพทย์จะได้เตรียมการอำนวยความสะดวกตรวจสอบสัตว์ ทำลายเชื้อโรคพาหนะบรรทุกสัตว์จัดเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ควบคุมรถบรรทุกสัตว์ไปยังสถานกักกันสัตว์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด และออกเอกสารใบแจ้งอนุมัตินำเข้า (ร.๖) ให้ผู้ขออนุญาตนำไปติดต่อดำเนินการทางพิธีศุลกากรที่ด่านศุลกากรประจำท่าเข้านั้น
สัตว์ที่นำเข้าต้องมีเอกสารหนังสือรับรองสุขภาพ (Health Certificate) เป็นภาษาอังกฤษ ออกให้โดยสัตวแพทย์รัฐบาลผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศต้นทาง ถ้าเอกสารรับรองเป็นภาษาอื่น ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลประเทศต้นทาง หรือเจ้าหน้าที่สถานทูตประเทศต้นทางประจำเทศไทย หนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ต้องตามเงื่อนไขการนำเข้าที่กรมปศุสัตว์กำหนดทุกประการ ถ้ามีหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ไม่ตรงตามเงื่อนไขที่กรมปศุสัตว์กำหนด จะไม่อนุญาตให้นำสัตว์นั้นเข้าประเทศไทย
สัตว์ที่นำเข้ามาทำพันธุ์ ต้องมีเอกสารหนังสือรับรองพันธุ์ประวัติ (Pedigree) แนบมาด้วยทุกครั้ง
ผู้นำเข้าต้องเตรียมเอกสารแสดงราคาสัตว์ มอบให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทุกครั้งที่นำสัตว์เข้าราชอาณาจักร
การดำเนินการช่วงนำเข้า
ผู้นำเข้าสัตว์ หรือ ซากสัตว์เข้าราชอาณาจักรต้องเสียค่าธรรมเนียมนำเข้าตามที่กำหนดกฎกระทรวงฯ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๔๒เมื่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนแล้วจะออกใบอนุญาตนำเข้า (ร.๗) ให้ผู้ขออนุญาตนำเข้า เพื่อใช้ในการตรวจปล่อยสินค้า และนำสัตว์ไปกักตรวจ ณ สถานกักกันสัตว์ที่กำหนด
การดำเนินการหลังการนำเข้า
สัตว์จะถูกนำไปกักดูอาการ ณ สถานกักกันสัตว์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด ในระยะเวลาที่นักวิชาการสัตวแพทย์จะพิจารณา เพื่อให้นักวิชาการสัตวแพทย์เก็บตัวอย่างต่างๆ จากสัตว์ไปตรวจทางห้องปฏิบัติการว่าปลอดโรคและผ่านพ้นระยะเวลาการกักกันแล้ว จึงจะอนุญาตเคลื่อนย้ายออกจากสถานกักกันสัตว์ได้ โดยเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์จะออกใบอนุญาตนำเข้า มอบให้ผู้นำเข้าไว้เป็นหลักฐานหากสัตว์ป่วย หรือตาย ขณะเดินทางมาถึง หรือระหว่างกักกันดูอาการ เจ้าของสัตว์ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ทันที เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ และเก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการเพื่อชันสูตรโรคต่อไป
ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการในการป้องกันและนำสัตว์ และซากสัตว์เข้าราชอาณาจักร โดยมีด่านกักกันสัตว์ในประเทศ และระหว่างประเทศของกรมปศุสัตว์ ทั่วประเทศที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังการเคลื่อนย้ายสัตว์เข้า-ออกประเทศอย่างเข้มงวด เพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้โรคระบาดจากต่างประเทศเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศได้ อันจะส่งผลเสียหายกับประชาชนและปศุสัตว์ในประเทศไทยได้
…………………………………………
ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์เรียบเรียงโดย : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์