กรมปศุสัตว์เตือนประชาชนไม่ควรกินเนื้อ เครื่องใน หรือเลือดสุกรแบบสุกๆ ดิบๆ เพราะอาจได้รับตัวอ่อนพยาธิทริคิเนลล่าชอนไชเข้าในกระแสเลือดส่งผลถึงตายได้ แนะให้กินแบบปรุงสุกปลอดภัยแน่นอน พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์สร้างความเข้าใจ และให้ความรู้ในการป้องกัน กำจัดพยาธิออกจากวงจรสุกร
นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์เผยว่า ประชาชนไม่ควรบริโภคเนื้อสุกร เครื่องใน หรือเลือดสุกรแบบดิบ หรือกึ่งสุกกึ่งดิบเพราะนอกจากไม่ทำให้ได้รับคุณค่าทางโภชนาการที่สูงขึ้นกว่าการบริโภคแบบปรุงสุกแล้วอาจทำให้พยาธิที่ชื่อ ทริคิเนลล่า เข้าไปในทางเดินอาหารและเข้าสู่ระบบกระแสเลือดและชอนไชเข้าสู่หัวใจมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ แนะนำให้ประชาชนปรุงอาหารให้สุกก่อนบริโภคทุกครั้ง จะปลอดภัยจากเชื้อโรคและพยาธิแน่นอน พร้อมส่งทีมเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ออกให้คำแนะนำการเลี้ยงสุกร ฉีดวัคซีนกำจัดพยาธิและทำวัคซีนป้องกันให้แก่สุกรเพื่อป้องกันและขจัดพยาธิออกจากวงจรสุกร
เมื่อมนุษย์กินเนื้อสุกร เครื่องในสุกรที่มีตัวอ่อนพยาธิในระยะต่างๆ และเลือดสุกรที่มีพายาธินี้โดยไม่ปรุงให้สุกเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร ตัวอ่อนพยาธิจะไชเข้ากล้ามเนื้ออ่อน กล้ามเนื้อกระบังลม กล้ามเนื้อหัวใจ เนื้อเยื่อและหลอดเลือดฝอยในปอด สมองและตับ-ไต หากรักษาโดยกำจัดตัวอ่อนพยาธิที่ชอนไชไปทั่วร่างกายและควบคุมปฏิกิริยาการอักเสบแบบทั่วร่างกายของผู้ป่วยไม่ทัน จะทำให้อวัยวะดังกล่าวล้มเหลว ขึ้นอยู่กับปริมาณและความถี่ในการกินเนื้อและอวัยวะภายในของสุกรที่มีตัวอ่อนพยาธิในแคปซูลแฝงอยู่ รวมถึงเลือดสุกรที่มีตัวอ่อนพยาธิที่ผู้ป่วยกินเข้าเข้า ฉะนั้นการกินลาบเลือด/ลาบหลู้ที่ทำจากเนื้อ อวัยวะภายใน เลือดสุกรดิบ จะทำให้ผู้ป่วยได้รับตัวอ่อนพยาธิที่มีอยู่ในสุกรโจมตีอย่างรุนแรงและมักจะตายในที่สุด
โรคทริคิโนสิส (Trichinosis) เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลมใน Family Trichinellidae, genus Trichinella จัดเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน (Zoonosis) ซึ่งเป็นพยาธิในเนื้อเยื่อที่พบการระบาดได้ทั่วโลก และเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของหลายๆประเทศ รวมทั้งประเทศไทย พยาธินี้สามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีกบางชนิด และสัตว์เลื้อยคลาน ทั้งที่เป็นสัตว์ป่า และสัตว์กินเนื้อ เช่น สุกร ม้า สุนัข แมว หนู กระรอก กระต่าย แมวน้า ปลาวาฬ นกเค้าแมว และจระเข้
จรชีวิตของพยาธิทริคิเนลล่า เมื่อสัตว์รวมถึงคนที่ได้รับพยาธิชนิดนี้จากบริโภคเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนตัวอ่อนทั้งแบบที่มีแคปซูล และไม่มีแคปซูลหุ้ม ตัวอ่อนในเนื้อสัตว์เหล่านั้นจะถูกกระตุ้นด้วยน้ำย่อยที่หลั่งจากกระเพาะอาหาร และไปฝังตัวที่ผนังลำไส้เล็กอย่างรวดเร็ว ระหว่างนั้นจะมีการลอกคราบ 4 ครั้ง ก่อนจะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 2 วัน หลังจากนั้นตัวผู้และตัวเมียจะผสมพันธุ์กัน และออกลูกเป็น larva ในรุ่นต่อไปภายในระยะเวลา 5-7 วันหลังได้รับพยาธิเข้าสู่ร่างกาย ส่วนตัวผู้จะตายไป ในขณะที่ตัวเมีย 1 ตัวจะสามารถผลิตพยาธิตัวอ่อนได้ประมาณ 500 – 1,500 ตัว และจะผลิตตัวอ่อนได้นาน 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นพยาธิตัวเมียจะตายไป และถูกกำจัดโดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จากนั้นตัวอ่อนจะเคลื่อนที่ไปตามกระแสเลือด และทางเดินน้ำเหลืองทั่วร่างกายของโฮสต์ ในวันที่ 20 หลังจากได้รับพยาธิเข้าไป ตัวอ่อนจะเคลื่อนไปฝังตัวในกล้ามเนื้อต่างๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อลายที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เช่น กล้ามเนื้อกระบังลม กล้ามเนื้อซี่โครง กล้ามเนื้อท้อง กล้ามเนื้อตา กล้ามเนื้อบดเคี้ยว และสร้างแคปซูลหุ้มตัวอ่อน ที่เรียกว่า nurse cell ในขณะที่ตัวอ่อนของพยาธิบางสายพันธุ์จะไม่สร้างแคปซูลหุ้ม เพียงแค่ขดและฝังตัวอยู่ในกล้ามเนื้อลายเท่านั้น
อาการป่วยในผู้ที่ได้รับเชื้อ ช่วงแรกผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเมื่อยล้าครั่นเนื้อ ครั่นตัว อ่อนเพลีย อาจมีอาการไอ อาเจียน หรือท้องเดินอ่อนๆ และเหมือนจะมีไข้ การแสบปวดตามกล้ามเนื้อ หายในลำบากเหนื่อยหอบ คล้ายถูกพิษเห็ดเมา ในเด็ก คนชรา ผู้มีโรคประจำตัวและอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง จะได้รับผลกระทบจากตัวอ่อนพยาธิทริคิเนลล่าอย่างรุนแรง และอาจตายได้ง่ายกว่าคนปกติที่แข็งแรงกว่า ส่วนในสตรีมีครรภ์อาจทำให้เด็กพิการและเสียชีวิตได้
การควบคุมและป้องกันโรค
1. ปรับปรุงการสุขาภิบาลในบริเวณคอกเลี้ยงสัตว์ ควบคุมหนู และสัตว์อื่นๆไม่ให้เข้ามาภายในคอกสัตว์ หรือโรงเรือน
2. ถ่ายพยาธิให้สัตว์อย่างสม่ำเสมอในทุกช่วงอายุ เช่น
โปรแกรมการถ่ายพยาธิสุกร
พ่อสุกร ควรถ่ายพยาธิทุก 6 เดือน
แม่สุกรและสุกรสาว ควรถ่ายพยาธิก่อนการผสมพันธุ์ทุกครั้ง และก่อนเข้าคอกคลอด
ลูกสุกรหย่านม ควรถ่ายพยาธิ 1 ครั้งหลังหย่านม และเมื่ออายุ 3, 6 เดือน
ลูกสุกรขุน ควรถ่ายพยาธิโดยวิธีให้กินเป็นระยะๆติดต่อกัน ตามคำแนะนำของยาถ่ายพยาธิแต่ละชนิด
3. ไม่นำเศษซากเนื้อสัตว์ หรือซากสัตว์ที่ตายแล้วไปเลี้ยงสุกร หรือสัตว์อื่น ควรนำไปฝังกลบ หรือกำจัดซากสัตว์ให้ถูกวิธี หากจำเป็นต้องนำเศษเนื้อไปเลี้ยงสัตว์ ต้องนำไปต้มให้สุกเสียก่อน
4. ปรับลักษณะการเลี้ยง จากการเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเอง เป็นการเลี้ยงภายในคอก
5. สร้างพฤติกรรมกำรบริโภคที่ถูกสุขลักษณะ เช่น รณรงค์การบริโภคอาหารที่ปรุงสุก สะอาด ถูกหลักอนามัยเท่านั้น ไม่บริโภคเนื้อสัตว์สุกๆดิบๆ โดยเฉพาะเนื้อหมูป่า หมูชาวเขา
นอกจากนี้ การที่ผู้บริโภคคิดว่า การใส่พริกขี้หนู มะนาว เหล้าขาวดีกรีสูงจำนวนมากลงไปปรุงลาบเลือดหรือลาบหลู้จะสามารถฆ่าพยาธิได้นั้น เป็นความหลงผิดอย่างยิ่ง เพราะกรดมะนาว กรดพริก เอธานอลในเหล้าขาว จะทำให้พยาธิตัวอ่อนเกิดความเจ็บแสบแล้วยิ่งคลอกคราบ เจริญเติบโตเร็วกว่าปกติ จะเร่งชอนไชเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายและกระแสเลือด เพื่อหนีตายและเร่งสืบเผ่าพันธุ์ต่อไป ดังนั้นจึงขอเชิญชวนให้ประชาชนตระหนักถึงภัยของการบริโภคอาหารจากเนื้อสุกรดิบอยู่เป็นประจำ ให้ปรับเปลี่ยนมาบริโภคเนื้อสุกร เครื่องใน หรือเลือดสุกรที่ผ่านการปรุงสุกทุกครั้งจะทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากเชื้อโรคและพยาธิแน่นอน ท้ายที่สุดนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกเนื่องจากโรคทริคิโนสิสสามารถป้องกันได้โดยการบริโภคเนื้อสุกรที่ผ่านการปรุงสุก หากจะนำอาหารพวกเศษเนื้อมาใช้เลี้ยงสุกร ควรต้มให้สุกเสียก่อน เพื่อป้องกันการเกิดโรคในสุกร ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการเเพร่โรคสู่คนได้ รวมทั้งจะเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรปรับระบบการเลี้ยงสุกรให้มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพมากขึ้น พร้อมทั้งให้เกษตรกรสังเกตสุกรที่เลี้ยง หากพบสุกรแสดงอาการป่วยให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ เพื่อดำเนินการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และหากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเรื่องโรคสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ หรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด หรือโทรศัพท์ 085 660 9906
............................................................................
ข้อมูล/ข่าว : คณณัฏฐ์ บุณณ์มั่งมีปภา นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กลุ่มพัฒนาวิชาการปศุสัตว์ สำนักผู้เชี่ยวชาญ/สำนักควบคุมป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ
▼
วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555
กรมปศุสัตว์แจงโรคเฮโมฯ หรือโรคคอบวมในโค กระบือ ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
อธิบดีกรมปศุสัตว์แจงโรคเฮโมรายิกเซพติกซีเมียหรือโรคคอบวมสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนในโค กระบืออายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป และต้องฉีดซ้ำทุกๆ ปี เพื่อลดอัตราการสูญเสียปศุสัตว์จากโรคนี้ และขอความร่วมมือเกษตรกรสังเกตอาการของปศุสัตว์ หากพบสัตว์แสดงอาการป่วยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ หรือปศุสัตว์จังหวัด เพื่อควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็วและลดความเสียหายจากโรคระบาด
นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบทันที ที่มีข่าวกระบือป่วยตายในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ พบกระบือแสดงอาการไข้สูง น้ำลายไหล ตัวแข็ง จากการตรวจสอบเบื้องต้นคาดว่าจะมีสาเหตุมาจากโรคคอบวม หรือโรคเฮโมรายิกเซพติกซีเมีย ซึ่งโรคนี้เป็นโรคระบาดรุนแรงในกระบือ และยังสามารถพบโคป่วยด้วยโรคนี้ได้ แต่จะไม่แสดงอาการรุนแรงในโคเท่ากระบือ แม้ว่าโรคนี้จะไม่นำโรคมาสู่คน แต่ก็สามารถแพร่เชื้อสร้างความเสียหายให้กับปศุสัตว์อื่นๆ ได้ กรมปศุสัตว์จึงเข้าควบคุม ป้องกันไม่ให้โรคนี้แพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ โดยดำเนินการดังนี้
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์
นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบทันที ที่มีข่าวกระบือป่วยตายในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ พบกระบือแสดงอาการไข้สูง น้ำลายไหล ตัวแข็ง จากการตรวจสอบเบื้องต้นคาดว่าจะมีสาเหตุมาจากโรคคอบวม หรือโรคเฮโมรายิกเซพติกซีเมีย ซึ่งโรคนี้เป็นโรคระบาดรุนแรงในกระบือ และยังสามารถพบโคป่วยด้วยโรคนี้ได้ แต่จะไม่แสดงอาการรุนแรงในโคเท่ากระบือ แม้ว่าโรคนี้จะไม่นำโรคมาสู่คน แต่ก็สามารถแพร่เชื้อสร้างความเสียหายให้กับปศุสัตว์อื่นๆ ได้ กรมปศุสัตว์จึงเข้าควบคุม ป้องกันไม่ให้โรคนี้แพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ โดยดำเนินการดังนี้
- เก็บตัวอย่างส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเพาะเชื้อ และทดสอบยาที่มีความไวต่อการรักษา
- ประกาศเขตโรคระบาดชั่วคราว หรือเขตสงสัยโรคระบาด เพื่อควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วยและสัตว์ในพื้นที่
- ทำบันทึกสั่งกักสัตว์ป่วยและแยกสัตว์ร่วมฝูงออกจากสัตว์ป่วย
- รักษาสัตว์ป่วย โดยการฉีดยาปฏิชีวนะ และรักษาตามอาการ โดยเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อที่ได้จากการเพาะเชื้อตัวอย่างที่เก็บในการระบาดครั้งนี้
- สำหรับสัตว์ร่วมฝูงจะฉีดยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมเชื้อโรคในตัวสัตว์และฉีดวัคซีนป้องกันโรคหลังจากที่ได้ฉีดยาปฏิชีวนะไปแล้ว
- กรณีสัตว์ตาย ให้ควบคุมการฝังซากให้ถูกต้องตามระเบียบของกรมปศุสัตว์
- พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุกวันในบริเวณคอกและโรงเรือน รวมทั้งทำลายเชื้อโรคที่เสื้อผ้า รองเท้า และอุปกรณ์ต่างๆภายในโรงเรือน และงดไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าออก บริเวณจุดเกิดโรค
- ดำเนินการควบคุมโรคในสัตว์ที่อยู่ในรัศมี 1 กิโลเมตร ถึง 5 กิโลเมตรจากจุดเกิดโรค
- ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกษตรกรในพื้นที่เกี่ยวกับโรคคอบวมและวิธีป้องกันโรค
...................................................................
ข้อมูล / ข่าว : ส่วนโรคปศุสัตว์ สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์